km

km
กิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการส่งเสริมการมีส่วนร่วมชุมชน


เจ้าของความรู้ นายวิโรจน์ บุณยรัตพันธุ์
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางพลี
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางพลี
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก ๐๘๑-๕๕๒-๓๖๙๑ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี ๒๕๕๑
สถานที่เกิดเหตุการณ์ หมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
๑) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน
ในปี ๒๕๕๑ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านของบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีทั้งหมดถึง ๒,๙๖๘ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๕,๘๐๑ คน เป็นชาย ๒,๘๑๖ คน และหญิง ๒,๙๘๕ คน มีองค์ประกอบในด้านองค์กรและกลุ่มต่าง ๆ มากมายกระจายอยู่ในหมู่บ้านรวมทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและอื่นๆในทุกกิจกรรมทางผู้นำชุมชนและองค์กรต่างๆจะเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนโดยยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงาน โดยใช้เวทีประชาคมเป็นเวทีตัดสินใจ กิจกรรมของกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านมีการเลือกคณะกรรมการขึ้นมาบริหารงานโดยใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นสถานที่นัดหมาย พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำ
วิธีการทำงานและเทคนิคของผู้นำและแกนนำของหมู่บ้าน นอกจากจะเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว ผู้นำจะปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง เช่น การตรงต่อเวลา การให้บริการอาหาร เครื่องดื่มแก่ผู้มาร่วมงานพัฒนาของชุมชน การใช้หอกระจายข่าวในการสื่อสารกับประชาชนในหมู่บ้าน การกำหนดจัดประชุมประชาชนในหมู่บ้านทุกต้นเดือนเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาจากทางราชการ นอกจากนั้นยังให้การศึกษาแก่คนในชุมชนด้วยการส่งแกนนำของหมู่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้านไปเข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ประชาชนในหมู่ที่ ๙บ้านบางพลี มีประสบการณ์และความรู้สามารถนำมาปรับใช้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
๒) ดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ทุกครัวเรือนจะได้รับการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย เอกสารและด้านๆต่างอยู่เป็นประจำในการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนทำให้ทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจเป็นเป็นอย่างสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายและเหลือขายเป็นรายได้ ลดอบายมุข เป็นสมาชิก
๓) การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้านและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประชาชนชาวบ้านบางพลีรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้านที่หลากหลายกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งสวัสดิการมีเงินฉุกเฉินให้ยืมในยามที่สมาชิกมีความจำเป็น เช่น ป่วยไม่มีเงินไปหาหมอ ค่าเทอมลูก จะให้ยืมทุกกรณีที่มีความจำเป็น ๔) จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคี
ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ในทุกๆปี บ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ จะจัดให้มีการทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ มอบเครื่องอุปโภค บริโภค แก่ผู้สูงอายุ ,ในวันพ่อทุกวันที่ 5 ธันวาคม ในตอนเช้าเช้าจัดให้กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านสำหรับในภาคค่ำ จัดให้มีกิจกรรมจุดเทียนชัยถวายพระพร,ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมของทุกปีและจัดกิจกรรม แข่งขันกีฬาในหมู่บ้านเพื่อสร้างความสามัคคี
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ “อยู่ดี กินดี”
ปัจจัยภายใน
การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนซึ่งนับว่าเป็นทุนทางสังคมของบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ที่มีทั้งภูมิปัญญา ความเอื้ออาทร วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตรที่เอื้อเฟื้อแบ่งปันกันทำให้การดำเนินงานในชุมชนเป็นไปด้วยความราบรื่น คนในชุมชนจะให้ความร่วมมือและเข้ามามีส่วนร่วมสูง การมีส่วนร่วมในการคิด
มีการจัดเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนชุมชน จากการจัดเวทีประชาคมดังกล่าวทำให้ประชาชนได้เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชนและปัญหาของประชาชนในหมู่บ้าน จึงได้ร่วมกับกำหนดแนวทาง และกิจกรรมโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น การสนับสนุนเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ / คนพิการ การจัดให้มีอาชีพเสริม, การปลูกต้นไม้ริมถนนการรณรงค์ลดอบายมุข การจัดทำบัญชีครัวเรือน การปลูกพืชผักไว้กินเอง การลดรายจ่าย / การออมเงิน การมีส่วนร่วมในการวางแผน
ประชาชน และผู้นำชุมชนบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมของชุมชนโดยใช้เวทีประชาคมเป็นการตัดสินใจในทุกกิจกรรม ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างหลากหลาย
มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน ประชาชนและผู้นำชุมชนบ้านบางพลี หมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เช่น การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนในหมู่บ้าน ชาวบ้านจะเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ พร้อมจัดทำแผนการปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประชาชนได้มีส่วนร่วมโดยการดำเนินงานตามแผนที่ได้ร่วมกันวางแผนไว้ เช่น การทำของใช้เพื่อใช้เอง ในครัวเรือน เพื่อเป็นการลดรายจ่าย และการออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ ในหมู่บ้าน เป็นต้น
การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
การทำกิจกรรมในหมู่บ้านประชาชนจะได้รับผลประโยชน์โดยตรง เช่น การที่ผู้นำชุมชน คณะกรรมการพัฒนาสตรี และประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกันประสานหน่วยงานภาครัฐ จัดกิจกรรม ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับประชาชน และเยาวชนในหมู่บ้าน เช่น การฝึกอาชีพ,การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ทำให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ก่อให้เกิดรายได้ และลดต้นทุนการผลิต การทำกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่บรรจุไว้ในแผนชุมชนที่คนในชุมชนได้ร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน
การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
ด้วยสภาพทางสังคมของบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ที่มีลักษณะทางสังคมเป็นสังคมเมืองผู้นำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกันน้อยมาก การติดตามผล การดำเนินงานกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้านส่วนมากจะมาจากการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย และเอกสารเป็นส่วนใหญ่ทำให้ทราบผลของการดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ยากเว้นแต่กิจกรรมที่สำคัญมากจึงจะนำเข้า ที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน
ปัจจัยภายนอก
นโยบายของรัฐบาลตลอดจนกิจกรรมต่างส่วนราชการของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
สรุปผลการพัฒนาหมู่บ้าน
จุดเด่นของบ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่
๑. การพัฒนาคน บ้านบางพลีหมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ได้มีการพัฒนาคนในชุมชนโดยการส่งแกนนำหมู่บ้านไปฝึกอบรมกับหน่วยงานราชการและเอกชนอย่างสม่ำเสมอทำให้แกนนำในหมู่บ้านมีวิสัยทัศน์ มีความคิดก้าวหน้า มีภาวะผู้นำสูง มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถวิเคราะห์ปัญหา มีการวางแผนดำเนินงาน และนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้มีผลงานปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน
๒. การพัฒนาแผนชุมชน
ในการจัดทำแผนชุมชนของบ้านบางพลี หมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ได้มีการนำผลวิเคราะห์ จปฐ. กชช2ค. และบัญชีครัวเรือนนำใช้ในการจัดทำแผนประกอบกับความคิดเห็นในเวทีประชาคม โดยมีส่วนราชการอื่น ๆและ อบต. เข้าไปมีส่วนร่วม โดยกิจกรรม/โครงการของแผนชุมชนได้ถูกผลักดันโดยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.และผู้นำ อช. ได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนา อบต. มากกว่าร้อยละ ๒๐ และเข้าสู่กระบวนการตั้งข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อบต. เพื่อดำเนินโครงการสนองตอบปัญหาและความต้องการของชุมชนได้จริง
จากผลการดำเนินงานของบ้านบ้านบางพลี หมู่ที่ ๙ ตำบลบางพลีใหญ่ ที่ดำเนินการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านบนพื้นฐานการพึ่งตนเองเป็นหลักรวมทั้งการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่องส่งผลให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จโดยมีรางวัลแห่งความสำเร็จของหมู่บ้าน ดังนี้
๑. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” รองชนะเลิศระดับ ๒ จังหวัดประจำปี ๒๕๕๑ ๒.แผนชุมชน ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับจังหวัด ประจำปี ๒๕๕๑

1 ความคิดเห็น: