km

km
กิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการเขียนสรุปความรู้(LEARNING LOG)


เจ้าของความรู้ นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบันทึกและสรุปความรู้หลังการฝึกอบรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2550
การเขียนสรุปความรู้หลังการเรียนรู้รายวิชา(LEARNING LOG) เป็นวิธีการบันทึกการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ผู้เข้าอบรมหรือผู้เข้าร่วมการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ใช้สรุปขุมความรู้ (Knowledge Asset) ที่ได้เรียนรู้ในวิชาหรือประเด็นที่พูดคุยกันในเวที ว่าเราได้ประเด็นความรู้อะไรบ้าง ท่านมีแนวคิดต่อความรู้นั้นอย่างไร รวมทั้งสามารถนำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนาตน พัฒนาทีมได้อย่างไร ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ เป็นการทบทวนความรู้ที่ได้เเละเป็นเครื่องมือประเมินตนเองได้เป็นอย่างดี
สำหรับเทคนิคการเขียนนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ผมเองเคยมีประสบการณ์อยู่บ้างเนื่องจากเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆแล้วจำเป็นต้องสรุปแก่นความรู้นำเสนออาจารย์ผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชา ดังนั้นจึงขอสกัดความรู้จากประสบการณ์ในการใช้เทคนิคการเขียนความรู้หลังการเรียนรู้รายวิชา(LEARNING LOG) ในมุมมองหรือประสบการณ์ของตัวเองเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแวดวงคนทำงานเเบบเดียวกันครับ
วิธีการปฎิบัติ - ในการเขียนสรุปความรู้หลังการเรียนรู้รายวิชา(LEARNING LOG) ให้มีประสิทธิภาพนั้นสิ่งต้องเตรียมการเป็นลำดับเเรก คือ
การเตรียม
1.การเตรียมตัวเองให้รู้เเละเห็นภาพรวมของรายวิชาหรือประเด็นที่จะเรียนรู้ มาก่อนล่วงหน้า โดยการอ่านเค้าโครง ประเด็นหลักๆของวิชานั้นๆมาก่อนที่จะเข้าเรียนรู้จากวิทยากร เนื่องจากเมื่อเข้าสู่กระบวนการเเล้วจะไม่เสียเวลากับการลำดับความคิดหรือตีความเชื่อมโยงในประเด็นที่วิทยากรนำเสนอ
2.เตรียมอุปกรณ์การจดบันทึกให้พร้อม ครบถ้วน สะดวกกับการหยิบใช้ได้ทันท่วงที เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ ปากกาเน้นสี น้ำยาลบคำผิด กระดาษบันทึก ปากกาเมจิก เป็นต้น นอกจากการเตรียมตัวเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมสมบูรณ์เเล้ว การเรียนรู้เเละทักษะการฟัง การจับประเด็น การตีความ การสรุปเชื่อมโยงประเด็นความรู้ต่างๆ
ก็สำคัญ เช่นเดียวกัน โดยมีเทคนิคปฎิบัติ ดังนี้
ทักษะการเรียนรู้
1.การฟังอย่างตั้งใจและ มีสมาธิ ประเด็นนี้สำคัญมากเพราะสิ่งที่หลายๆคนเก็บประเด็นความรู้ไม่ได้หรือได้ไม่ครบถ้วน นั้นส่วนใหญ่เกิดจากการขาดสมาธิในการฟัง ดังนั้นการฟังเป็นปัจจัยสำคัญมาก ควรตัดสิ่งที่จะเป๊นอุปสรรคหรือทำลายสมาธิในการฟังให้ได้มากที่สุด
2.จดบันทึกประเด็นความรู้ในระหว่างวิทยากรบรรยาย โดยจดคำสำคัญ(Key Word) และจดประเด็นย่อยๆในเเต่ละช่วงของการบรรยาย ไว้ในสมุดบันทึกหรือกระดาษที่เตรียมไว้ หรือใช้เครื่องมือ แผนที่ความคิด(Mind Map)ในการจดบันทึกจะดียิ่งขึ้น เทคนิคการเขียนแผนที่ความคิดแบบง่ายสุด คือ หาประเด็นหลักของเรื่องแล้วกำหนดเป็นแก่นกลางของ Mind Map ประเด็นรองลงมาเป็นกิ่งแก้ว ส่วนขยายอื่นๆหรือรายละเอียดหาความสัมพันธ์กับ ประเด็นรองแล้วเขียนต่อเป็นกิ่งก้อย
3.นำประเด็นที่จดบันทึกได้จะด้วยเครื่องมือ Mind Map หรือจดเป็นประเด็น เป็นข้อๆ ก็ตามเเต่นำมาหาความสัมพันธ์หรือเป็นขั้นการสังเคราะห์หาแก่นหลักของความรู้ที่ได้ทั้งหมดเพื่อการนำเสนอในการสังเคราะห์นี้จะเป็นการอธิบายความเชื่อมโยงของประเด็นความรู้ที่บันทึกได้ทั้งหมด โดยต้องพิจารณาว่าข้อมูลหรือประเด็นความรู้นั้น เป็น องค์ประกอบกัน หรือเป็นกระบวนการ หรือเป็นสาเหตุ/ปัจจัย หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไรเพื่อนำเสนอในเชิงระบบ
การนำเสนอสรุปความรู้หรือแก่นความรู้ที่ได้รับหลังการเรียนรู้รายวิชา(LEARNING LOG)
จากเทคนิคการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์และการมีทักษะในการเรียนรู้และจดบันทึกแก่นความรู้อย่างมีประสิทธิภาพเเล้วการนำเสนอความรู้ที่ได้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะเเสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าท่านเรียนรู้ได้อะไรมาบ้าง เเก่นอยู่ที่ไหน สัมพันธ์กันอย่างไร และท่านจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง ผมขอเสนอรูปแบบการนำเสนอแก่นความรู้เเละเทคนิคการเขียนดังนี้ครับ
1.รูปแบบการนำเสนอ
1)นำเสนอแบบเป็นเนื้อหาล้วนๆ ลักษณะเขียนเป็นร้อยเเก้วเน้นเฉพาะหัวข้อสำคัญ
2) นำเสนอแบบเป็นเนื้อหาล้วนๆ ลักษณะเขียนเป็นร้อยเเก้ว เเบ่งหัวข้อเป็นข้อๆเรียงกันไป
3) นำเสนอแบบเป็นเนื้อหา ใช้แผนที่ความคิดประกอบเพื่อนำเสนอ ความรู้ในภาพรวม
4) นำเสนอแบบเป็นเนื้อหา และใช้แผนภูมิ/แผนภาพประกอบเพื่อนำเสนอ ความรู้ในภาพรวม
5) ทักษะการเขียนเนื้อหาของแก่นความรู้ที่ได้รับหลังการเรียนรู้รายวิชา(LEARNING LOG) การเขียนเนื้อหาของความรู้ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ผมมีเทคนิคการเขียนนำเสนอเนื้อหาที่ได้ ดังนี้ครับ
1. พิจารณาก่อนว่าโจทย์กำหนดให้เขียนภายในกี่หน้า ต้องวางเเผนการเขียนก่อนให้สามารถนำเสนอจบภายในจำนวนหน้าที่กำหนด โดยวิธีการ คือ ใช้ร่างในกระดาษบันทึก ตีเป็นหน้ากระดาษจำลองตามจำนวนหน้าที่โจทย์กำหนด ร่างส่วนประกอบต่างๆของเนื้อหาไว้ วางแผนว่าส่วนนำประมาณกี่บรรทัด ส่วนเนื้อหาทั้งหมดกี่บรรทัด มีแผนภูมิหรือแผนที่ความคิดหรือไม่จะวางไว้ตรงไหน ส่วนสรุปแค่ไหนเขียนร่างไว้ในแบบที่ร่าง จากนั้นจึงลงมือเขียน
2.การเขียนต้องเเบ่งสัดส่วนหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วน ได้เเก่
1) ส่วนนำ เขียนบอกความเป็นมา/ความสำคัญของเนื้อหาความรู้ทีได้ ความยาวของส่วนนำเเล้วเเต่จำนวนหน้าที่โจทย์กำหนด ประมาณ 10% เนื้อหาทั้งหมด
2)ส่วนเนื้อหาหรือขุมความรู้หรือแก่นความรู้ทั้งหมด ต้องเขียนสิ่งที่ได้ ความสัมพันธ์ เชื่อมโยงให้ชัดเจน ควรมีแผนภูมิประกอบเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอดที่ชัดเจนความยาวของส่วนนำเเล้วเเต่จำนวนหน้าที่โจทย์กำหนด ประมาณ 70% เนื้อหาทั้งหมด
3) ส่วนสรุป เป็นการสรุปแก่นความรู้สู่การประยุกต์ใช้ ท่านต้องเสนอเเนวคิดเเนวทางว่าท่านจะนำแก่นความรู้ทั้งหมดที่ได้ไปสู่การปฎิบัติอย่างไร และผลที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร มีเป้าหมายที่ชัดเจนวัดผลได้ มีผลกระทบต่อผู้รับบริการและส่งผลเชิงบวกต่อองค์กร
ความยาวของส่วนสรุปเเล้วเเต่จำนวนหน้าที่โจทย์กำหนด ประมาณ 20% เนื้อหาทั้งหมด
จากความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเกิดผลเชิงรูปธรรมได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยความสำเร็จ สรุปเป็นขุมความรู้และแก่นความรู้ได้ดังนี้

ขุมความรู้
1.ความตั้งใจ มุ่งมั่นของท่านเอง
2.การมีสมาธิเเละการให้ความสำคัญกับเนื้อหาเเละกระบวนการที่ผู้จัดกำหนด/ มองเห็นประเด็นชัดเจน
3.บรรยากาศการฝึกอบรมที่ผ่อนคลาย
4.การมีส่วนร่วม
5.ความสามารถในการจัดกระบวนการของวิทยากร
6.สื่อประกอบการเรียนรู้ที่ชัดเจน น่าสนใจ

แก่นความรู้
1. จับประเด็นแม่น
2. นำเสนอง่าย
3. เป็นระบบ
4. สื่อความหมายชัด
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
· แนวคิดการสรุปประเด็น
· การคิดเชิงระบบ
· การใช้แผนที่ความคิด
กลยุทธ์ ฟังอย่างมีสมาธิ จับประเด็น เห็นระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น