km

km
กิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสมุทรปราการ







โดย กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
“การดำเนินงานการพัฒนา แต่ก่อนใช้วัดด้วยสายตาบ้าง เฉลี่ยไปตามความคิดเห็นที่ไม่เป็นเชิงสถิติบ้าง ทำไปเรื่อย ๆ บ้าง แต่ตอนนี้ทางราชการมีการสำรวจข้อมูล จปฐ. เป็นข้อมูลที่คิดว่าในขณะนี้ดีที่สุดแล้ว ดีในการ เป็นฐานให้เริ่มต้นแก้ไขปัญหา เป็นข้อมูลที่ง่ายดูง่าย และเห็นด้วยที่มีการสำรวจข้อมูล จปฐ. มีการวัดเพื่อให้พบ ปัญหา ซึ่งเมื่อรู้ปัญหาแล้วจะได้มีการแก้ไข สำหรับการวัดนั้น จะตรงหรือไม่ตรง แน่นอนต้องมีการผิดพลาดบ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ ขอให้มีสิ่งที่จะช่วยให้ฝ่ายรัฐเข้าไปหาชาวบ้าน ได้ทราบปัญหาของชาวบ้านบ้างเมื่อเราทำจริง สำรวจจริงแล้ว จะทำให้พบกับบุคคลที่ควรสงเคราะห์ หรือทำให้พบปัญหา และเมื่อพบปัญหาแล้วจะแก้ไขอย่างไรเป็นสิ่งที่จะตามมา หลักการพัฒนาที่ควรจะคำนึงถึงคือ ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยตัวเองได้ การให้คำแนะนำเพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ”
พระราชกระแสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการอำนวยการงาน พชช. และเจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าถวายรายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย
ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ
ที่ รล 0017/10527 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2534




ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้มนุษย์เราต้องมาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตให้สอดคล้อง และรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันภายใต้ความแตกต่างกันทั้ง อายุ, รายได้, ระดับการศึกษา, รสนิยม และเป้าหมายในการดำเนินชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงเป็นการสร้างรากฐานของระดับการดำรงชีวิตของคนให้ดีขึ้น โดยการให้ความรู้ ส่งเสริมคุณธรรม ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและส่งเสริมการประกอบอาชีพ และส่งเสริมการดำรงตนอย่างมีคุณค่านำไปสู่สังคมแห่งความสุข การพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ “ข้อมูล” เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา โดยเฉพาะข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่บ่งชี้ว่า คนในสังคมมีความเป็นอยู่อย่างไร มีปัญหาความต้องการอะไรบ้าง มีปัญหาเพื่อรอการแก้ไขอย่างไร เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาสังคมน่าอยู่ ดังพระราชกระแสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการอำนวยการงาน พชช. และเจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าถวายรายงานคุณภาพชีวิตของคนไทยนั่นเอง
ข้อมูลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และประการสำคัญข้อมูลบ่งบอกคุณภาพชีวิตของเราทุกคนได้ เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด รวมทั้งบอกมีปัญหาที่จะต้องแก้ไข เป็นการส่งเสริมให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ

ข้อมูล จปฐ. กรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินการ จะจัดเก็บทุกปี เป็นข้อมูลในระดับครัวเรือนทุกครัวเรือนและเป็น ครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้านชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในบ้านเรา สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ.เป็นเครื่องมือ ข้อมูล จปฐ. ประกอบด้วย 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด ดังนี้
1. หมวดที่1 สุขภาพดี มี 13 ตัวชี้วัด
2. หมวดที่2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด
3. หมวดที่3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 7 ตัวชี้วัด
4. หมวดที่4 รายได้ก้าวหน้า มี 3ตัวชี้วัด
5. หมวดที่5 ปลูกฝังค่านิยมไทย มี 6 ตัวชี้วัด
6. หมวดที่6 ร่วมใจพัฒนา มี 5 ตัวชี้วัด






การจัดเก็บเรามีขั้นตอนโดยเริ่มจาก
1. จัดเก็บข้อมูลกับครัวเรือนเป้าหมายทุกครัวเรือน โดยผู้จัดเก็บคือคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลระดับตำบล ได้แก่ กรรมการหมู่บ้าน กรรมการชุมชน หัวหน้าคุ้ม สมาชิก อบต. หรืออาสาสมัคร โดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน
2. ตำบลหรือเทศบาลจะติดตาม ตรวจสอบและรับมอบแบบสอบถามตามข้อมูลฯจากทุกหมูบ้าน ชุมชน รวบรวมบันทึก ประมวลผลและสำเนาแผ่นบันทึกข้อมูลส่งอำเภอ
3. ในขั้นตอนนี้อำเภอจะรับมอบตรวจสอบข้อมูลส่งให้จังหวัดพิจารณาตรวจสอบ
4. จากนั้นจังหวัดจะตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนและนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลระดับจังหวัดซึ่งมีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าคณะทำงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ จัดส่งให้กรมการพัฒนาชุมชน
5. ขั้นตอนสุดท้าย กรมการพัฒนาชุมชนจะรวบรวมนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.)ต่อไป
สำหรับการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของจังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2553 จัดเก็บในเขตชนบท (อบต.) ทั้งหมด 6 อำเภอ 31 ตำบล 318 หมู่บ้าน 76,952 ครัวเรือน จำนวนประชากร ณ วันที่จัดเก็บจาก 76,952 ครัวเรือน รวม 214,870 คน แยกเป็น ชาย 104,010 คน หญิง 110,860 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ย 79,117.06 บาท/คน/ปี












คุณภาพชีวิตของคนจังหวัดสมุทรปราการในเขตชนบท (อบต.) ตามตัวชี้วัด จปฐ. จำนวน 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด มีตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมาย จำนวน 29 ตัวชี้วัด และไม่บรรลุเป้าหมาย จำนวน 13 ตัวชี้วัด ดังนี้



2. ตำบลหรือเทศบาลจะติดตาม ตรวจสอบและรับมอบ


ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานของชาวสมุทรปราการที่ไม่บรรลุเป้าหมาย หมวดที่ 1 สุขภาพดี ได้แก่ เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2, 500 กรัม, เด็ก 6-15 ปีเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน, ครัวเรือนมีความรู้การใช้ยาถูกต้องเหมาะสม หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย ได้แก่ ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ครัวเรือนมีความอบอุ่น หมวดที่ 3 เด็กอายุ 6-15 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และหมวดที่ 5 คนในครัวเรือนไม่ติดสุรา คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา








จำนวนตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย จำแนกรายอำเภอ
จากการสรุปข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจะเห็นว่า ตัวชี้วัดหากแบ่งตามอำเภอ พบว่า อำเภอบางบ่อและอำเภอพระประแดงมีตัวชี้วัดที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา อำเภอละ 13 ตัวชี้วัด อำเภอบางพลี 12 ตัวชี้วัด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และบางเสาธง อำเภอละ 5 ตัวชี้วัด และอำเภอเมืองสมุทรปราการ 1 ตัวชี้วัด สำหรับประเด็นที่ข้อมูล จปฐ.บ่งชี้และเป็นเกณฑ์ชี้วัดเศรษฐกิจของพี่น้องชาวสมุทรปราการ คือ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสรุปผลการจัดเก็บข้อมูลพบว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของพี่น้องชาวสมุทรปราการ คือ 79, 117.06 บาท หากจำแนกเป็นรายอำเภอ รายได้ต่อคนต่อปี ปรากฏตามแผนภูมิ ดังต่อไปนี้






การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปรากฏข้อมูลโดยสรุป ตามที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัดฯ ได้สรุปและรวบรวมข้อมูลที่ผ่านความเห็นชอบ กลั่นกรองจากคณะทำงานฯระดับจังหวัด นำเสนอกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับประกาศใช้เป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท ของพี่น้องชาวสมุทรปราการ อันจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ถูกต้องตามปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ในศักยภาพของครัวเรือน ชุมชนและสภาพปัญหาโดยรวมของพี่น้องชาวปากน้ำต่อไป อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์เลยหากทุกหน่วยงานในจังหวัด ไม่ร่วมแรงร่วมใจนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จักต้องให้ความสำคัญและนำไปเป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อขจัดปัญหาของพี่น้องของเราให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมและสนองตอบความต้องการของมวลมหาประชาชนในพื้นที่ต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
โทร. 0-2395-2161, 0-2395-4968 โทรสาร 0-2395-4968

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น