km

km
กิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการเรียนรู้และนำ KM มาพัฒนางานในองค์กร


เจ้าของความรู้ นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานที่ไม่มีประสบการณ์/ไม่มีทักษะความรู้พื้นฐานมาก่อนเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี2549
สถานที่เกิดเหตุการณ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ผมย้ายการปฏิบัติราชการจากจังหวัดอุดรธานีมาปฏิบัติราชการที่กรมการพัฒนาชุมชน (กทม.)โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน 7 ว สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รับผิดชอบงานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คำรับรองการปฏิบัติราชการซึ่งบอกตรงๆว่างานที่กล่าวมาทั้งหมดผมไม่เคยทำหรือมีประสบการณ์มาก่อนเลยแม้แต่น้อยและงานสำคัญที่ผมถือว่าเป็นงานยากและไม่เคยสัมผัสตั้งแต่ทำงานมากว่า 15 ปี นั่นก็คือ งานวางระบบการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งในปีดังกล่าว สำนักงาน กพร. กำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี และกำหนดเป็นตัวชี้วัดบังคับ ในมิติที่ 4 การพัฒนาองค์กร โดยมีตัวชี้วัดย่อยอีก 3 ตัวพ่วงท้ายมาอีกด้วย ลำพังตัวชี้วัดเดียว ผมมือใหม่เอามากๆๆก็หืดขึ้นคอแล้ว และที่สำคัญปีนั้นเป็นปีแรกที่กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินงานจัดการความรู้(KNOWLEDGE MANAGEMENT: KM) อย่างเป็นระบบ สถานการณ์ขณะนั้นบีบหัวใจผมเอาการอยู่ เนื่องจากได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่ของกรมฯ งานใหม่ของสำนักฯและที่น่าตกใจ คือเป็นงานใหม่เอี่ยมสำหรับผม ซึ่งไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อนแม้แต่น้อย หากมีข้อผิดพลาดหรือตัวชี้วัดระบบการจัดการความรู้ที่ว่านี้ไม่สำเร็จหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา ที่ตั้งไว้ อะไรจะเกิดขึ้น เป็นโจทย์ที่ยากสุดๆ สำหรับผม ณ ขณะนั้น และนี่เป็นจุดตั้งต้นที่ผมตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาเหล่านี้ให้ได้แม้จะใช้เวลาหรือความพยายามมากน้อยแค่ไหนก็ตามที เมื่อรับงานการวางระบบการจัดการความรู้มาอย่างเต็มตัวแล้ว ประเด็นแรกของผมในการศึกษางานที่ว่านี้ คือ สืบค้นแฟ้มงานที่คนอยู่ก่อนหน้าทำเอาไว้ ผมอ่านเอกสารในแฟ้มตั้งแต่โครงการ รายละเอียดงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน และเป้าหมายทั้งเชิงผลผลิตและเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัดกิจกรรม อ่านแม้กระทั้งบันทึกเสนอต่างๆที่แสดงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงาน สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือขั้นตอนการทำงานของโครงการที่ผู้ยกร่างโครงการทำใว้ก่อนผมย้ายมา แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่าเมื่อทำตามขั้นตอนของโครงการแล้วระบบการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชนจะสำเร็จแต่อย่างน้อยก็เป็นแนวทางที่ผ่านการคิดและไตร่ตรองมาพอสมควรแล้ว การศึกษารายละเอียดโครงการจากแฟ้มที่คนเก่าทำไว้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะเห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด แต่หากผู้รับผิดชอบ ไม่เข้าใจงานอย่างลึกซึ้ง
ก็จะเป็นปัญหาไม่รู้จบเช่นเดียวกัน ผมตระหนักปัญหานี้ดีจึงแสวงหาตำหรับ ตำราเรื่องการจัดการความรู้มาอ่านและศึกษาอย่างจริงๆจังๆ ผมหมดเงินไปนับพันบาทในการไปหาซื้อหนังสือประเภท HOW TO ด้านKM มาอ่าน การทำอย่างนี้ทำให้ผมมีความรู้ด้านการจัดการความรู้ที่กว้างขวางขึ้นจากตำราดังกล่าวแต่ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกคือ มีทฤษฎีมากมายแล้วปฏิบัติอย่างไร KM จึงจะเกิดเป็นรูปธรรมในกรมการพัฒนาชุมชน ผมนำความรู้ในแฟ้มงานที่กล่าวมาข้างต้นเชื่อมโยงกับตำราที่ซื้อมาอ่าน (แม้บางเล่มจะเขียนคนละทิศละทางก็ตามที) ทำให้เริ่มเดินงานอย่างคนมีข้อมูลแล้ว เกิดความมั่นใจมากขึ้น ในห้วงเวลานั้นคำถามที่ผมพบบ่อยคือ KM ที่เป็นรูปธรรมเป็นอย่างไร และทำอย่างไรให้สำเร็จ คนในองค์กรเก่งขึ้น งานมีคุณภาพ(เป้าหมาย KM) จังหวะเดียวกันนั้นผู้บังคับบัญชาตัดสินใจจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาวางระบบการจัดการความรู้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การพัฒนางานอย่างหนึ่งในกรณีขาดผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง การเอ้าท์ซอส องค์ความรู้จากภายนอกสามารถแก้ปัญหาและเอื้อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆที่บริษัท ผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาต่อยอดให้ ผมยิ่งมั่นใจมากขึ้นเมื่อมีระบบพี่เลี้ยงมาเกื้อหนุน บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการสร้างการเรียนรู้โดยทำเวริ์คช็อป ให้เราลองปฏิบัติทุกขั้นตอนผมเริ่มเข้าใจ KM มากขึ้นการได้ฝึกปฏิบัติก่อนแล้ววิทยากรพี่เลี้ยงจึงสรุปหลักการภายหลังเป็นวิธีการที่ทำให้เราเข้าใจกระบวนการและวิธีการมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตลอดการฝึกปฏิบัตินั้นไม่มีการนั่งฟังบรรยายเป็นเวลานานเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การเรียนรู้เรื่อง KM จะเกิดผลดีต้องทำไปเรียนรู้ไปเท่านั้น การจัดกิจกรรมของบริษัทที่ปรึกษาจากการสังเกต พบว่ามีตั้งแต่การ สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายด้วยเกมส์/กิจกรรม การวางตัวของวิทยากร และการใช้สื่อที่สามารถเชื่อมโยงให้เห็นในการปฏิบัติจริงได้ ที่สำคัญการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ผมเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นว่าการจัดการความรู้ คืออะไร ความรู้ที่เราจะจัดการหมายถึงอะไร มีขั้นตอนอย่างไร และนี่เป็นการเรียนรู้เนื้องานที่รับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น หลังการฝึกอบรม กรมฯและบริษัทที่ปรึกษามอบภารกิจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลับไปจัดเก็บความรู้ โดยใช้ทักษะที่ฝึกปฏิบัติจากการอบรมดังกล่าว เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง ในการรับผิดชอบงานจัดการความรู้นอกจากผมใช้การศึกษากระบวนงานจากแฟ้มเอกสาร สอบถามเรียนรู้กับผู้รับผิดชอบงานเดิม การศึกษาเพิ่มเติมหลักการต่างๆจากตำราหรือเอกสารแนวทาง การหาพี่เลี้ยงที่ชำนาญหรือเชี่ยวชาญและการต้องลงมือฝึกปฏิบัติจริง จึงเป็นเครื่องมือและวิธีการที่ทำให้ผมทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเข้าใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษาครั้งนี้ผมได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการก้าวเดินของที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดด้วยการสังเกต บันทึก ติดตามตลอดทุกกิจกรรม ผมบันทึก รวบรวม ไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ กิจกรรม เครื่องมือ เทคนิคการนำเสนอ สื่อต่างๆ และเคล็ดลับการสร้างการเรียนรู้ รวมทั้งติดตามผู้เชี่ยวชาญไปฝึกปฎิบัติทุกขั้นตอนทุกครั้งที่ไปดำเนินการ การจดบันทึกเป็นเครื่องมือแกะรอยการทำงานของผู้เชี่ยวชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมนำประสบการณ์ที่ได้จากกระบวนการพัฒนาตนเองตามที่เล่ามาทั้งหมด มาเป็นกรอบและกระบวนการในการดำเนินงาน KM ของกรมการพัฒนาชุมชน นับจากวันนั้นเป็นต้นมาและเมื่อถึงปลายปีงบประมาณ ผลการประเมินการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน ผ่านการประเมิน ได้ 5 คะแนนเต็ม พร้อมมีหลักฐานเชิงประจักษ์ครบถ้วน เกิดกระแสการพูดคุยเรื่อง KM กันมากขึ้น ผมรู้สึกดีใจที่การลงทุนทั้งเวลา งบประมาณ ที่สนับสนุนให้กรมฯมีระบบการจัดการความรู้เกิดผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นปีแรกที่กรมการพัฒนาชุมชนวางระบบ KM อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากผลงานผ่านการประเมินของ สำนักงาน กพร. แล้ว ผมภูมิใจที่การพัฒนาตนเองของผมให้เรียนรู้งานใหม่ที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนเกิดความรู้และทักษะด้านการจัดการความรู้มากกว่าเดิม เข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ และที่สำคัญสามารถถ่ายทอดทั้งกระบวนการ เทคนิควิธี ของการจัดการความรู้ ได้เป็นอย่างดี จนปัจจุบัน ผมมีโอกาสได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร KM ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชน รวมทั้งมหาวิทยาลัย ที่ผมก้าวเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย จากความสำเร็จนี้ทำให้ผมทีทัศนคติที่ดีกับงานใหม่ๆที่ไม่เคยทำและท้าทาย เสมือนเครื่องมือที่ทำให้ผมต้องกล้าที่จะเรียนรู้และพัฒนาทั้งทักษะความรู้จนเกิดเป็นความชำนาญและสามารถแก้ปัญหาในงานได้ในที่สุด
ขุมความรู้1. สืบค้นรายละเอียดงานจากแฟ้มงาน(ความเป็นมา/เรื่องเดิม/แนวทาง)และศึกษาให้ชัดเจน2. สืบค้นข้อมูล/พูดคุยกับผู้ที่รับผิดชอบเดิม(ที่มีประสบการณ์มาก่อน)3. จดบันทึกกระบวนการ/ขั้นตอน/วิธีการจากผู้รู้หรือผู้รับผิดชอบเดิม4. ศึกษาเอกสารตำราเพิ่มเติมเพื่อความลึกซึ้งและมองภาพรวมจากความรู้ที่เป็นสากล5. ฝึกปฏิบัติ ทำไปเรียนรู้ไปแก้ปัญหาไป บันทึกข้อผิดพลาด/วิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จ6. เชื่อมโยงหลักการตามตำรากับสถานการณ์และผู้เชี่ยวชาญ7. สร้างและใช้ระบบพี่เลี้ยงหรือเอ้าท์ซอส ความรู้จากภายนอกแก่นความรู้1. ไฝ่เรียนรู้(ด้วยตนเอง)2. ฝึกปฏิบัติ(ทักษะ)จริงจัง3. ตำราวิชาการหนุนเสริมความเข้าใจ4. สร้างระบบพี่เลี้ยงหรือมีทีมที่ปรึกษากลยุทธ์“ใฝ่รู้ ลองทำ นำหลักการ ประสานคนเก่ง เร่งสร้างระบบพี่เลี้ยง “
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแนวคิดด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง การสร้างความรู้ และการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

เทคนิคเรื่อง การขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ


เจ้าขององค์ความรู้ นายศรศิษฏ์ ทนทาน
แก้ไขปัญหา ความเชื่อ ความศรัทธา ในการแก้ไขปัญหาต้องมาจาก
พื้นที่ที่มีแผนชุมชน
นายศรศิษฎ์ ทนทาน(เทพพิทักษ์) อายุ 51 ปี เป็นคนดั้งเดิมมาจากจังหวัดพะเยา มาสร้างครอบครัว อยู่ที่บ้านสุขสวัสดิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2525 ถือว่าเป็นนักพัฒนาชาวบ้านที่มีอะไรพลิกสถานการณ์ปรับเปลี่ยน บนกระบวนการคิดของเวทีชาวบ้านเสมอๆ ในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ได้มาแนะนำตนเองและทำความรู้จักเมื่อมารับราชการในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เพราะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด จะพูดถึงบุคคลๆนี้เสมอ เมื่อมารู้จักและพูดคุยแล้วต้องยอมรับว่า คุณศรศิษฎ์ เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวง ของนักพัฒนาชาวบ้านที่อยู่กับพื้นที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนโยกย้ายตนเองเหมือนข้าราชการทั่วไป บุคลิกเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอๆแต่เป็นคนตรงไปตรงมา ต้องขออนุญาตนำประวัติพอสังเขปให้รู้จักกับคุณศรศิษฎ์ มากขึ้น ท่านเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2536 เป็นผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนตำบลในคลองบางปลากดปี 2541- 2544 ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นปี 2543 เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์กรชุม ปี 2544 เป็นผู้นำเสนอแนวคิดการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านต้องใช้แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในแวดวงของนักพัฒนา เป็นผู้นำในการจดทะเบียนสมาคมผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนและสมาคมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2545 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจังหวัดสมุทรปราการรับตำแหน่งเป็นเลขา ปี 2546 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ปี 2548 ได้รับประกาศเกรียติคุณเป็นผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม(ผู้ใหญ่บ้านแหนบทอง) ปลายปี 2548 นำกองทุนหมู่บ้านผ่านการประเมินยกฐานะเป็นธนาคารแห่งแรกของ จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2548 -2549 ร่วมกับอาจารย์มหาลัยและภาคีเครือข่ายทำงานวิจัยเรื่ององค์กรการเงิน ร่วมกับทีมงาน ดร.ครูชบ ยอดแก้ว สงขลา,คุณสามารถ พุธทา ลำปาง,พระอาจารย์สุบิน ตราด ,คุณพัชรี ประธานเครือตำบลกองทุนหมู่บ้าน ตำบลกระหรอ นครสีธรรมราช เมื่อมาดูประวัติพอสังเขปต้องยอมรับว่าท่านผู้ใหญ่ต้องมีองค์ความรู้และเป็นองค์ความที่อยู่ในระดับท้าทายว่าการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการได้จริงหรือ....
ผู่ใหญ่ศรศิษฎ์บอกว่า การขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ ต้องทำความเข้าใจ คำว่าแผนชุมชน กับการบูรณาการ แผนชุมชน ตามหลักวิชาการก่อน
แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมได้ร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดแนวทางและทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมชุมชนสามารถแก้ไขได้เองด้วยความร่วมมือของในชุมชนเองทั้งหมดด้วยความร่วมมือกันลงมือทำและเสียสละ บางกิจกรรมต้องขอความร่วมมือกับกับภาคที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขบางส่วนและบางกิจกรรมชุมชนไม่สามารที่จะแก้ไขได้เกินความสามารถต้องประสานกับท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา แผนชุมชนมีชื่อเรียกกันแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของท้องถิ่นและผู้นำเสนอในเวทีเพื่อความหยืดหยุ่นและการประสานงาน อาทิ แผนแม่บทชุมชน, แผนชุมชนพึ่งตนเอง, แผนชีวิต,แผนชุมชน, แผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนเพื่อประสานกับท้องถิ่น
การบูรณาการ แผนชุมชน หมายถึง วิธีการร่วมมือกันทำงานของหน่วยงานสนับสนุนพัฒนาภายนอกชุมชนทุกภาคส่วน โดยยึดหลักการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของเรื่อง โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือดำเนินกิจกรรมพัฒนาให้เป็นไปคามความต้องการของประชาชน มากกว่าวัตถุประสงค์ของหน่วยงานสนับสนุน มีทั้งบูรณาการด้านบุคลากร กระบวนการและเครื่องมือ แผนงานและงบประมาณ
ดังนั้นการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นไปได้ไม่ยากนักถ้าหน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และผู้นำแต่ละพื้นที่ต้องทุ่มเทเสียสละและไม่ชิงการนำ ชิงการได้เปรียบของการเมืองระดับพื้นที่ ส่วนหน่วยงานต้องไม่ชิงพื้นที่ว่าเป็นของหน่วยงานไหนเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
ความเชื่อความศรัทธา คือปัญหาที่ต้องเร่งสร้างให้กลับมาในหมู่นักพัฒนา,หน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ถ้าทุกภาคส่วนยังมีอัตตาสูงเมื่อนั้นการพัฒนาแห่งความยั่งยืนไม่เกิดขึ้นแน่
แต่วันนี้ในฐานะที่เป็นผู้นำ ได้ทำในสิ่งที่ชาวบ้านให้ทำนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาเปิดเวทีคิด เวทีคุย เวทีแก้ไขปัญหา เวทีแห่งการวางแผนพัฒนาและร่วมกันตัดสินใจ มาอย่างต่อเนื่องจากที่ไม่ได้รับการยอมรับ ก็ได้รับการยอมรับ จากที่นำแผนไปเสนอและพูดคุยถูกปฏิเสธเสมอๆกับมาชื่นชมและมักถูกยกเป็นตัวอย่างเสมอๆ จากการที่แสวงหา งบประมาณไม่ได้ กับไม่อยากได้งบประมาณที่ไม่เป็นความต้องของชาวบ้านมาดำเนินการ จากความไม่เชื่อ ไม่มีความศรัทธา แต่สิ่งที่เอ่ยออกมากลับเป็นความชื่นชม และเอาไปเป็นแบบอย่าง วันนี้ความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ตัวเอง อยู่ที่ชาวบ้านสุขสวัสดิ์ เป็นผู้ทำความฝันของตนเองในการคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติที่เรียกว่าแผนชุมชน หรือแผนพัฒนาหมู่บ้านไปสู่แผนพัฒนาตำบลและปัจจุบันนี้จากจุดนี้ขยายผลของแผนปฏิบัติการของ องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด ของหมู่บ้านนี้ร้อยเปอร์เซ็นมาจากแผนชุมชน และยังขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆได้ระดับหนึ่ง
วันนี้แนวคิดการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ก้าวไปอีกระดับหนึ่งแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร ด้วยการทำงานที่มีการปรับเปลี่ยนของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน วันนี้ที่นี่กำลังก้าวเดินไปบนกรอบยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยในการบูรณาการแผนชุมชน ไปสู่ตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จที่มีกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมการพัฒนาชุมชนอยากเห็นและยากให้เป็นความสุขของชาวบ้านอย่างแท้จริง
วิธีการ (ปฎิบัติตน)
1. มีเวลาให้กับกิจกรรมส่วนรวม
2. ใฝ่ศึกษาหาความรู้และเป็นนักไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
3. เปิดเวทีได้ทุกโอกาสสถานที่ในการพูดคุยเรื่องที่ใหม่ๆกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
4. อ่อนน้อมถ่อมตน และปิดหู ปิดตา ปิดปาก ในบางโอกาส ที่ไม่เอื้ออำนวย และ เหมาะสม
5. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเป็นเพื่อนและผูกมิตรได้กับคนทุกระดับ
6. ยกย่องเชิดชูเพื่อนร่วมงานและชาวบ้านอยู่เสมอๆ
7. สร้างบรรยากาศที่เคร่งเครียดของการวิเคราะห์ปัญหาเป็นเรื่องไม่มีปัญหา
8. ทำตัวอยู่หลังภาพแห่งความสำเร็จ ความสวยงามที่เกิดกับสังคมที่เข้าไปมีส่วนร่วม
9. ใช้หลักธรรมนำชีวิต หิริ ความละอายแก่ใจ โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป
จากเทคนิคการทำงานและปฎิบัติตน ของ ผู้ใหญ่ศรศิษฎ์ จนเป็นที่ยอม ชื่นชมและศรัทธาของชาวบ้านสุขสวัสดิ์แล้ว กลุ่มองค์กรต่างๆเชิญชวนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการตามหลักของประชาธิปไตยเสมอๆ แต่ผู้ใหญ่ไม่เข้ารับการสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งในกลุ่มองค์กรต่างๆในช่วงปี 2530 -2553 แต่ด้วยจิตและวิญาณของการห่วงเพื่อนๆพี่น้องๆที่แบกสัมภาระของสังคมก็อดห่วงไม่ได้ เวทีแต่ละเวทีที่เป็นของภาคีเครือข่ายจะปรากฏตัวเองเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยขาดเมื่อได้รับเชิญ
แต่งานที่เป็นการบริหารกึ่งวิชาการส่งเสริมสนับสนุนและปกครอง ที่ผู้ใหญ่ยังรับตำแหน่ง
ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ,ประธานสถาบันการเงินบ้านสุขสวัสดิ์,รองประธานคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล, คณะกรมการบริหารศูนย์การศึกนอกโรงเรียนเรียนอำเภอพระสมุทรเจดีย์,คณะการกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ,คณะอนุกรรมการส่งเสริม ติดตามจัดตั้งกองทุนทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด,คณะกรรมการประเมินมาตรฐานแผนชุมชนระดับจังหวัด,คณะอนุกรรมการควบคุม มาตรฐานสถานพยาล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จังหวัดสมุทรปราการ,คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึงตนเองของสถาบันพัฒนาองค์การมหาชน จังหวัดสมุทรปราการ
ขุมความรู้
1. เป็นแบบอย่างที่ดี,มีจิตอาสา ยังพาผลประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวม
2. ทำไปเรียนรู้ไป แก้ไขปัญหาไป
3. ให้เกียรติและความสำคัญกับทีมงาน
4. ให้ความสำคัญกำคนเก่งทุกระดับ
5. เป็นนักประสานงานที่ดีมีมนุษย์สัมพันธ์ ,นักประชาสัมพันธ์,เป็นนักจุดประกายขาย
ความคิดและขยายผล
6. เชื่อมโยงหลักการตามตำรากับสถานการณ์เฉพะหน้าให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม
7. เป็นผู้เอื้ออำนวยส่งเสริมความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
8. ตื่นตัวอยู่เสมอๆมีความสามารถในการตัดสินใจ จูงใจ มีความรอบรู้ทันเหตุการณ์
แก่นความรู้
1. หมั่นสร้างเวทีร่วมคิดได้ทุกโอกาส
2. มีจิตอาสา ยังพาประโยชน์ส่วนร่วมคือความสุขของตนเอง
3. ให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท
4. สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่น
5. นำพาผลประโยชน์ที่เกิดจากแผนกับสู่ชุมชนด้วยหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
กล้าพูดในสิ่งที่ทำ กล้านำในสิ่งที่เป็นมติจากเวทีประชาคม หมั่นชื่นชม ให้เกียรติและยกย่องทีมงานและภาคีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
*บทบาทของผู้นำ
*ภาวะของผู้นำ
*ผู้นำที่ที่มีประสิทธิภาพ
**************

ความรู้เรื่อง เทคนิคการปฏิบัติงานเรื่องศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนให้เข้มแข็ง


เจ้าของความรู้ นางอรษา เศวตจามร
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารงาน แก้ปัญหากระบวนการทำงาน ศอช.ต.

ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลบางด้วน ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ผู้นำ – กลุ่ม –องค์กร เช่น ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ - กองทุนสวัสดิการชุมชน – กองทุนหมู่บ้าน – กลุ่มผลิตฯ อาสาสมัครสาธารณสุข – กรรมการหมู่บ้าน (กม.) สมาชิกสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรอื่นๆ นอกพื้นที่ ตำบล – อำเภอ อื่นๆ ประสานสัมพันธ์กับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็ง พึงพาตนเองอย่างมั่นคง บูรณาการกิจกรรม การพัฒนาไปตามบริบทของหมู่บ้าน – ตำบล – ชุมชน โดยให้มีส่วนราชการ - รัฐวิสาหกิจ – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินการอย่างเหมาะสม
ภารกิจ การแก้ปัญหา เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมและสะท้อนปัญหา ไปสู่หน่วยงาน– หรือองค์กรภาคอื่น ๆ
ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างลงตัว ดำเนินกิจกรรมด้วยความราบรื่น – รวดเร็ว
ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของผู้นำกลุ่มองค์กร
ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ตำบลบางด้วน ดำเนินการจัดประชุมประชาคมโดยพัฒนากร ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการเลือกสรรประชาชน เข้ามาเป็น คณะทำงานได้ 15 คน และเริ่มดำเนินการจัดประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นการจัดทำแผนพัฒนา –จัดทำโครงการปัญหายาเสพติด – สิ่งแวดล้อม - ปัญหาความยากจน – จัดทำกิจกรรมรายได้สนับสนุน
และต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ได้จัดการประชุมร่วม ระหว่าง ศอช.ต. ผู้นำชุมชน - กลุ่มออมทรัพย์ – ฌาปณกิจสงเคราะห์ กองทุนสวัสดิการชุมชน สมาชิกสภาตำบล ผู้นำ อช. – กองทุนหมู่บ้าน – สตรี - กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้าร่วมประชุม เพื่อร่างระเบียบ – ข้อบังคับ ของ ศอช. ต. โดยเรียนเชิญท่านวิทม สมใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วนเป็นประธานเปิดการประชุมแต่ท่านติดภารกิจ ได้มอบหมายภารกิจให้ท่านชาญชัย ชาติทองคำ ประธานสภาตำบลบางด้วนมาเป็นประธานเปิดการประชุมแทน และประธาน ศอช.ต. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้ทราบ จากที่ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด – จัดอบรมมัคคุเทศน้อย จัดตั้งเสียงตามสาย – จัดทำผู้สูงอายุไปศึกษาแสวงบุญไหว้พระ 9 วัด สิงห์บุรี – อ่างทอง – อยุธยา –ซื้อคอมพิวเตอร์ – เครื่องถ่ายเอกสารบริการประชาชนราคาถูก ตั้งมูลค่างบประมาณเสนอกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จำนวนเงิน 270,000.-บาท และได้รับการอนุมัติและดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย 1 โครงการ
การพัฒนาผู้นำ
คณะกรรมการของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลบางด้วน ได้มาจากการประชุมประชาคม ผู้นำชุมชนทุกองค์กรทุกหมู่บ้าน จากผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 108 คน
กาติดต่อสื่อสารกับหน่วยงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากความร่วมมือ ก่อให้เกิดการบริการดีรวดเร็ว รวมถึง
การประสานแผนความร่วมมือในทุกกิจกรรม – ที่จะของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ได้ดีมาก
การพัฒนาด้านความร่วมมือของเครือข่ายภายในตำบลคือการประสานความร่วมมือระหว่างสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์ กองทุนสวัสดิการชุมชน – กองทุนหมู่บ้าน – กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. โดยมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนนำในการยกระดับขึ้นเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตำบลบางด้วน อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
สร้างความประทับใจให้กับทุกคนที่รับทราบผลความก้าวหน้าขององค์กรการเงินชุมชนที่ชาวบ้าน จำนวน 800 กว่าคน นำเงินมารวมกัน ได้ยกระดับความเข้มแข็งเสมือนองค์การการเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ ศอช.ต. ในด้านการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการเพื่อการขับเคลื่อนก็คือการพึ่งตนเอง จัดหากลยุทธในการขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรต่างๆ ตั้งเป้าหมายการพัฒนาบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมให้ผู้ที่ประสงค์จะสร้างอาชีพประกอบอาชีพเสริมรายได้จากการเลี้ยงปลา –เลี้ยงกบ จากแหล่งเงินทุน เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า หรือ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บางรายจัดซื้อตู้น้ำดื่มมาให้บริการ บางรายทำดอกไม้ประดิษฐ์ – ดอกไม้จันทน์ – พวงหรีดเคารพศพชนิดผ้า และชนิดภาชนะของใช้ ในครัวเมื่อแล้วเสร็จพิธี มีกลุ่มเกษตรนวัตกรรม ปลูกผัก – เพาะเห็ดไร้สาร – ไร้ดิน ไว้บริโภคเองเหลือขาย
ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้คนในชุมชนใฝ่หาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาประดิษฐ์สินค้าหลากหลายรูปแบบมาก ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนสนับสนุนในการให้ฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติเพื่อเพิ่มรายได้






วิธีการ (เทคนิคการปฎิบัติ)
1.การบริหารงานที่สำคัญคือการแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วน
2.กระบวนการทำงาร่วมกับประชาชน
3.การประสานความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม / องค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และ อปท.
เพื่อช่วยเหลือ / สนับสนุนการทำงานของผู้นำชุมชน / กลุ่มองค์กร
4.สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ
5.นำไปสู่ความร่วมมือกับ อปท. ทั้งในระดับตำบล (อบต.) และระดับจังหวัด (อบจ.) ตาม
ศักยภาพและบริบทของชุมชนที่แตกต่างกัน
ขุมความรู้
1.ประสบผลสำเร็จเป็นตัวอย่าง
2.รวบรวมปัญหา วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสข้อจำกัด
3.ให้ความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน กลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อประยุกต์นำมาใช้
4.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.ปฎิบัติงาน กิจกรรม ประสานของบประมาณจากภายนอก
6.ประเมินผล
7.ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน และหน่วยงานได้ทราบผลงาน
แก่นความรู้
1.เป็นต้นแบบ
2.ให้ความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน
3.ประสานงาน แบ่งหน้าที่
4.คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.บูรณาการกองทุนในชุมชน
กลยุทธ
เป็นต้นแบบ ศูนย์กลางเรียนรู้ของกลุ่มองค์กรภายในตำบลอย่างแท้จริง
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เป็นศูนย์ที่จัดประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ประชาชนทุกหมู่บ้านในตำบล ได้รู้จักว่า ศอช.ต. คือใคร ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร

ความรู้เรื่อง เทคนิคการทำงานพัฒนาชุมชนในเขตเมือง


เจ้าของความรู้ นายฐานวัฒน์ ธนัตย์จิระพร
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์
เบอร์โทรศัพท์ 086-564-2157
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ปัญหายาเสพติด
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 2525
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จ.ชลบุรี

ข้าพเจ้าได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชลบุรี ให้รับผิดชอบโครงการบ้านสวนแสนสุข ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับสำนักงาน ปปส. แก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเมืองเน้นการปกครองเขตสุขาภิบาล กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน 120 คน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการจัดทำค่ายเยาวชน 7 วัน 6 คืน ของกรมการพัฒนาชุมชน และมีหลักการทำงานดังนี้
1. ศึกษาพื้นที่เป็นเขตการปกครองสุขาภิบาล นอกเขตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โดยทำความเข้าใจกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชลบุรี ถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้สมาชิก ผู้บริหารสุขาภิบาลทั้งหมด ทำความเข้าใจ ทำเวทีประชาคมของหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน แต่งตั้งกรรมการหมู่บ้านในเขตเมือง แล้วอบรมให้ความรู้ 3 วัน ถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด โดยมอบหมายภารกิจกรรมการหมู่บ้านพิจารณากลุ่มเป้าหมาย 15-25 ปี ที่จัดว่าเสี่ยงจะติดยาเสพติด ผู้ใหญ่ 12 คน รวม 120 คน เข้าค่ายฝึกอบรม โดยเน้นให้ผู้นำเป็นเจ้าหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบทุกขั้นตอน
3. เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว มอบหมายให้เยาวชนขยายผลรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยผู้นำของตนเอง โดยมีกรรมการหมู่บ้านและผู้นำเป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลือ
4. มีการสอนงานอาชีพต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
5. ต้องให้ผู้นำและกรรมการหมู่บ้านเห็นความสำคัญมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนจึงจะได้ความร่วมมือ ร่วมใจ มองเห็นปัญหายาเสพติดในเยาวชน เป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

ขุมความรู้
1. ศึกษาพื้นที่สร้างความเข้าใจ
2. ประชุมแกนนำต่อเนื่อง
3. หาพี่เลี้ยงร่วมดำเนินการ



แก่นความรู้
1. ศึกษาหาพื้นที่
2. มีส่วนร่วม
3. พี่เลี้ยงสนับสนุน

กลยุทธ์
ศึกษาพื้นที่มีส่วนร่วม

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาชุมชน / การมีส่วนร่วม

ความรู้เรื่อง การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์


เจ้าของความรู้ นางสาวปวีณรัตน์ บุตรวงศ์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 0-2453-7144
แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเสร็จทันตามกำหนดเวลา
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น พ.ศ. 2552 อำเภอพระสมุทรเจดีย์
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เป็นงานนโยบายกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมาย ให้กรมการพัฒนาชุมชน รับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล เป็นทีมงานขับเคลื่อนการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลเป็นภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละปี เดือนมิถุนายน 2552 ข้าพเจ้าถูกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีนัก เพราะมีคนหลายๆ คนเคยบอกเล่าว่าพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ทำงานยาก บางพื้นที่ต้องเดินทางด้วยเรือและบางวันมีน้ำทะเลหนุนท่วมถนนทางเข้าอำเภอทำให้การเดินทางลำบาก เป็นน้ำเค็มกลัวว่ารถจะผุพังเร็ว และผู้คนอยู่ในเขตเมืองไม่มีเวลาร่วมกิจกรรม แต่ด้วยที่ว่าเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ชุดเดิม 3 คน ได้ย้าย ลาออก และเกษียณราชการก่อนกำหนด ทั้ง 3 คน จังหวัดจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนชุดใหม่ 2 คนลงพื้นที่เหมือนลงไปงมเข็มในมหาสมุทรยังไง ยังงั้นแต่อีกนัยหนึ่งก็เหมือนเป็นการท้าทายความสามารถ การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เป็นภารกิจหนึ่งที่สำนักงานพัฒนาชุมชน ต้องประสานการจัดเก็บข้อมูลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นประจำทุกปี ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลประมาณ 3 เดือน ซึ่งน้อยมากในสำหรับการที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สำหรับในเขตพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เป็นพื้นที่ติดกับทะเลมีลำคลองผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านต้องเดินทางด้วยเรือ หรือพื้นที่บางตำบลก็อยู่ติดเขตกับกรุงเทพมหานคร แต่ละพื้นที่อยู่ห่างไกลอำเภอ การเดินทางต้องใช้เวลานาน ส่วนที่อยู่ใกล้อำเภอก็จะพบปัญหาประชากรแฝง ชุมชนแออัด บ้านเช่า จราจรติดขัด การที่ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติงานตรงนี้ จึงต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นเพราะยังไม่รู้ว่าพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน/ตำบล อยู่ที่ไหนต้องเดินทางไปมาอย่างไรซึ่งในช่วงแรกจึงต้องศึกษาชุมชนและศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนซึ่งมีความหลากหลาย และพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพรอง คือการประมง ได้แก่ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยแครง การที่คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมหรือร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ในวันทำการ การจัดประชุมส่วนใหญ่จึงต้องเป็นช่วงเลิกงานตอนเย็นหรือวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือเวลาที่ชาวบ้านสะดวก ฉะนั้นจึงต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพราะถ้าอย่างนั้นจะทำให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ จากการที่ได้ลงพบปะ พูดคุยหรือสอบถามข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำอช./อช.ผู้นำชุมชน และกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในพื้นที่ ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ซึ่งในปีที่ผ่านมาการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ล่าช้ามากไม่ทันตามกำหนด จากการพูดคุยทำให้ทราบว่า ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำส่วนใหญ่รู้ว่ามีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ทุกปี แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำ ไม่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรก และอีกอย่างคือมีความขัดแย้งทางความคิดกันจึงไม่ให้ความร่วมมือ อปท.จัดประชุม ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่เข้าร่วมประชุม เมื่อมีการบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ข้อมูลจึงไม่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายปกครองหมู่บ้าน มีการถกเถียง โต้แย้งกัน เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เป็นไปด้วยความถูกต้อง สมบูรณ์ได้ข้อมูลจากพื้นที่อย่างแท้จริงจึงได้กำหนดการดำเนินงาน ดังนี้
1. การวางแผนการปฏิบัติงานและการประชุม
1.1 ปรึกษาหารือกับพัฒนาการอำเภอร่วมกันวางแผนและจัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อลงไปสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่
1.2 ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานภาคีพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รับทราบกำหนดระยะเวลา และการสนับสนุนงบประมาณการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
1.3 แต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ ระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลฯ
1.4 จัดประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ ระดับตำบล และอาสาสมัครโดยการประชุมเป็นรายตำบล และฉายวีดีทัศน์การจัดเก็บข้อมูลให้ดู
2. การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
2.1 การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ในพื้นที่ห่างไกลและเดินทางด้วยเรือ ต้องมีการเตรียมการตั้งแต่เนิ่นๆ การจัดประชุมชี้แจงและจัดเก็บ ต้องทำก่อนที่อื่น ซึ่งต้องประสานกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านให้คัดเลือกอาสาสมัครที่มีจิตอาสาจริงๆ เสียสละและอดทน โดยแบ่งเป็นโซนหมู่บ้านเพราะบ้านริมคลองอยู่แบบกระจัดกระจาย ให้แต่ละคนรับผิดชอบ มอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนช่วยเหลือสนับสนุน และหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบถึงปัญหาอุปสรรค และช่วยกันแก้ไข
2.2 การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ในพื้นที่เขตเมือง ด้วยสภาพของสังคมเมือง และอุตสาหกรรม การจัดเก็บข้อมูลค่อนข้างเจอปัญหาเพราะไม่มีคนอยู่บ้านในวันธรรมดา จะพบกับคนแก่ และเด็ก อยู่บ้านบางคนก็ให้ข้อมูลได้ บางคนก็บอกไม่รู้ หรือไม่ให้ข้อมูลก็มี ซึ่งปัญหาตรงนี้แต่ก่อน อปท.จะจัดหาเด็กว่างานมาจัดเก็บข้อมูลซึ่งอาจจะอยู่นอกหมู่บ้านทำให้เก็บข้อมูลไม่ได้ ตามข้อเท็จจริง และสถานการณ์ทางการเมืองค่อนข้างร้อนแรงแบ่งพรรคแบ่งพวก ถ้าไม่ใช่พวกตนเองมาเก็บข้อมูลก็จะปิดประตู ฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาจึงต้องคัดเลือกอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทุกฝ่าย และคัดเลือกคนในหมู่บ้านมาเป็นอาสาสมัคร เพราะคนในหมู่บ้านรู้ข้อมูลหมู่บ้านดีกว่าคนอื่น สามารถทำงานวันหยุดได้และติดตามได้ง่าย
3. สนับสนุนการบันทึกและประมวลผล โดยการจัดประชุมเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลเป็นรายตำบล ให้คำแนะนำวิธีลงโปรแกรม การบันทึกข้อมูล วิธีการแก้ไขปัญหาโปรแกรมติดขัดหรือมีปัญหา และติดตามบันทึกข้อมูลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องโดยทางโทรศัพท์ และลงไปช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ จากการที่ทุกฝ่ายได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จากที่พบปัญหาอุปสรรคมากมาย ก็ได้ร่วมกันหาและปรับแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและรับรู้ในขั้นตอนการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ตั้งแต่แรกเริ่มทำให้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูล จปฐ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และส่งไม่ทันตามและได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ และส่งไม่ทันตามกำหนดก็หมดเกิดจากการวางแผนการทำงานร่วมกันของทุกขั้นตอน อย่างเป็นระบบ ขุมความรู้ 1. ศึกษาชุมชน 2. วิถีชีวิตของชุมชน 3. คณะทำงานทุกภาคส่วน 3. การจัดประชุม 5. ปัญหาอุปสรรค
แก่นความรู้ 1. การมีส่วนร่วม 2. การวางแผนการปฏิบัติงาน 3. ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน 4. การแลกเปลี่ยน
กลยุทธ์ในการทำงาน 1. การเตรียมการและวางแผน 2. การประสานงานและการสื่อสาร 3. การสนับสนุนการดำเนินงาน 4. การติดตาม
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วม

ความรู้เรื่อง เทคนิคการแก้ปัญหาการบันทึกข้อมูล จปฐ. ของผู้บันทึกข้อมูล


เจ้าของความรู้ นางเจริญขวัญ นัยเนตร ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบันทึกข้อมูล จปฐ.ของผู้บันทึกไม่สามารถดำเนินการได้ ในหลาย ๆ ประเด็นปัญหา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548 – 2553
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ข้าพเจ้าได้ย้ายมาปฏิบัติงาน ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของจังหวัด ซึ่งเดิมทีข้าพเจ้าไม่เคยได้รับผิดชอบงานในลักษณะนี้มาก่อน เป็นเพียงการดำเนินการในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลของอำเภอในขณะที่ยังปฏิบัติงานเป็นพัฒนากรที่จังหวัดกาญจนบุรี (ปี พ.ศ.2538 – 2547) ดังนั้นในการปฏิบัติงานดังกล่าวข้าพเจ้าได้เริ่มดำเนินการระบบงานเบื้องต้น ซึ่งพบว่าที่ผ่านมายังไม่มีการจัดการระบบงานเรื่องข้อมูล จปฐ.อย่างเป็นระบบมาก่อน เช่น แฟ้มงานต่าง ๆ ยังไม่ครบสมบูรณ์มีเพียงหนังสือแนวทางจากกรมฯ เท่านั้นที่เป็นเครื่องมือให้ข้าพเจ้าได้ศึกษาต่อยอด
ปัญหาเหล่านี้จะสำเร็จได้ต้องเริ่มจัดระบบงานให้ชัดเจนก่อน เริ่มจากศึกษาหนังสือสั่งการต่าง ๆ ของกรมฯ พยายามดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางของกรมฯ เป็นหลัก พร้อม ๆ กับการสอบถามพี่ที่ปฏิบัติงานมาก่อนเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการทำงาน หลังจากดำเนินการตามแนวทางที่กรมฯ กำหนดแล้ว ข้าพเจ้าก็เริ่มติดตามงานกับอำเภอและสิ่งที่อำเภอสะท้อนกลับมาคือบทบาทนักวิชาการจังหวัดไม่สนับสนุนอำเภอเท่าที่ควร ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงกำหนดวิธีการทำงานของตนเองโดยมุ่งเน้นการลงพื้นที่อำนวยความสะดวกให้พัฒนากรและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบันทึกข้อมูล จนถึงระดับผู้จัดเก็บในหมู่บ้าน โดยเฉพาะเน้นการสอบถามพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบปัญหาและกำหนดวิธีการให้งานออกมาเป็นผลสำเร็จ จากการลงพื้นที่ข้าพเจ้าจึงทราบว่า “จปฐ.เปรียบเสมือนยาขมหม้อใหญ่ของคน พช.” โดยเฉพาะในเขตเมืองอย่างจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเมื่อลงพื้นที่เราจะได้พบกับปัญหามากมาย ทั้งในเรื่องของการจัดเก็บ และการบันทึกข้อมูล เช่นชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ การจัดเก็บต้องทำเวลากลางคืนหรือต้องหาเวลาที่คนอยู่บ้านเพราะส่วนใหญ่จะทำงานโรงงาน ทำงานเป็นกะ หรือถ้าเป็นหมู่บ้านจัดสรรบางหมู่บ้านก็จะไม่เปิดให้ผู้จัดเก็บเข้าไปเก็บข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งถ้าพูดในที่นี้คงจะเป็นเรื่องยาว จึงจะขอพูดถึงเรื่องปัญหาในการบันทึกข้อมูล จปฐ.ก่อน ในการบันทึกข้อมูลนั้นก็เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ข้าพเจ้าจึงเปิดโอกาส หรือช่องทางให้ผู้บันทึกข้อมูล จปฐ.สะท้อนปัญหาได้โดยตรงทางโทรศัพท์ และระบบ IT ข้าพเจ้าจะรับฟังทุกปัญหาและทุกคำถามถ้าตอบได้ข้าพเจ้าจะตอบทันทีและถ้าตอบไม่ได้ข้าพเจ้าจะต้องกลับมาศึกษาค้นคว้า หรือสอบถามผู้รู้ให้ได้คำตอบให้จงได้ ซึ่งในที่สุดปัญหาเหล่านั้นเองที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การใช้โปรแกรมการบันทึกข้อมูล จปฐ.จนเกิดความชำนาญ และถ้าวิเคราะห์ให้ดีปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่พอสรุปได้ ดังนี้ 1. โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละปีปรับเปลี่ยนบ่อยทำให้เจ้าหน้าที่ไม่คุ้นเคย 2. คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับบันทึกบางรุ่นไม่รองรับโปรแกรมบันทึกข้อมูล จปฐ. 3. บันทึกข้อมูลแล้วข้อมูลหายซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนการบันทึก 4. ข้อมูลจากการจัดเก็บตามแบบที่ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทำให้มีปัญหาในการบันทึกข้อมูล 5. เจ้าหน้าที่บันทึกขาดความรู้ความชำนาญและทักษะในการบันทึก จากปัญหาดังกล่าวข้าพเจ้ามีเทคนิควิธีการในการแก้ไขปัญหาโดยดำเนินการ ดังนี้ 1. ฝึกหัดเรียนรู้โปรแกรมให้มีทักษะมากขึ้น 2. สร้างเครือข่าย IT ระหว่างจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน 3. จัดฝึกอบรมผู้บันทึกข้อมูลของ อบต. เทศบาล และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่เกี่ยวข้องแม้ไม่มีงบประมาณก็ประสานขอรับการสนับสนุนสถานที่จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 และได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน 4. เชิญวิทยากร ศพช.เขต มาให้การสนับสนุนความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนเองไม่ถนัดและได้เรียนรู้ในการแก้ปัญหาร่วมกันไปด้วย 5. ลงพื้นที่ให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิดอีก แม้จะได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมแล้วก็ตาม 6. ต่อมาจึงจัดโซนพื้นที่ในการให้การศึกษาเรียนรู้แบ่งเป็น 1 จุด ต่อ 2 อำเภอ เพราะการฝึกอบรมหากจำนวนคนมากจะทำให้การเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ โดยใช้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้การสนับสนุนสถานที่และอุปกรณ์ (ประสานแหล่งความรู้ในพื้นที่เป็นหลัก) 7. จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อำเภอเพื่อให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้แก่ผู้บันทึกเหล่านี้ 8. มีการติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและประเมินผลงานนำผลมาพัฒนางานในครั้งต่อ ๆ ไป การดำเนินงานนั้นในระยะแรกต้องติดตามสนับสนุนดูแล อบต.ในทุกพื้นที่ เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ และเน้นให้มีการตรวจสอบข้อมูลในแบบสอบถามให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนที่จะบันทึกลงโปรแกรมเพื่อความเที่ยงตรงถูกต้องของข้อมูล การดำเนินการตามที่กล่าวมาทำให้งานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลของทุก ๆ อบต. มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการแก้ปัญหาชนบทต่อไป



ขุมความรู้ 1. ศึกษางานจากผู้รู้ และเอกสารแนวทางหนังสือสั่งการของกรมฯ 2. รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนางาน 3. ออกแบบวิธีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและบุคลากรที่เป็นกลไกในการบันทึกข้อมูลระดับอำเภอ ตำบล 4. เรียนรู้โปรแกรมและแนวทางการสนับสนุนพื้นที่ให้ชัดเจนสามารถเป็นพี่เลี้ยงอำเภอได้ 5. การพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการดำเนินงานบันทึกข้อมูล 6. สรุปวิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงกระบวนงานในปีต่อไป
แก่นความรู้ 1. ศึกษา/วิเคราะห์งาน 2. หาปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไข 3. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและศึกษาความต้องการ 4. เรียนรู้และพัฒนาทักษะกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของงาน 5. ทบทวน/ปรับปรุง/สรุปบทเรียน
กลยุทธ์ ศึกษา เรียนรู้ สำรวจความต้องการ ประสานความรู้ คู่ระบบ IT มีการบูรณาการสนับสนุน
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2. การศึกษา/วิเคราะห์ชุมชน 3. ระบบการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการ Wisdom in CDD











ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2551 – 2554 กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน” โดยมีพันธกิจในการสร้างพลังชุมชน สร้างระบบการจัดการความรู้ และสร้างระบบการจัดการชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นกลไกในระดับพื้นที่มีภารกิจสำคัญในการหนุนเสริมและขับเคลื่อนงานเชิงยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค
จึงต้องบูรณาการแผนงาน กิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมชน และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/ จังหวัดควบคู่กันไป การสร้างความเข้มแข็งของทีมงานและพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพส่งผลต่อขีดสมรรถนะองค์กรที่สูงขึ้น กอรปกับบุคลากรและมวลชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ในระดับพื้นที่ มีเทคนิคการปฏิบัติงานที่ดี มีองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในเชิงรูปธรรมมากมาย หากมีการจัดเก็บรวบรวม จัดหมวดหมู่ความรู้เชิงปฎิบัติ พัฒนาเป็นองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัด




สมุทรปราการ พร้อมจัดกิจกรรมและขยายช่องทาง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือบริหารองค์ความรู้ ทั่วทั้งองค์กร จะเป็นการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาระบบจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานอย่างชัดเจน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ จึงจัดทำโครงการ “Wisdom in CDD : การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้วยพลังภูมิปัญญาพัฒนาชุมชนคนสมุทรปราการ” ภายใต้การติดตั้งระบบบริหารองค์ความรู้ทั่วทั้งองค์กรเป็นสำคัญ

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
2.2 เพื่อพัฒนาระบบบริหารองค์ความรู้ของบุคลากรและกลุ่มองค์กรในพื้นที่

3. กลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วย บุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ/อำเภอทุกอำเภอ และผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กร เครือข่ายที่ผลงานดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน


4. วิธีการ / ขั้นตอนการดำเนินงาน / เงื่อนไขของกิจกรรม
4.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั่วทั้งองค์กร
1) ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ
2) การจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการองค์ความรู้
3) การสร้างและพัฒนาทักษะทีมงานบริหารจัดการองค์ความรู้
4.2 การส่งเสริมการจัดเก็บรวบรวมเผยแพร่องค์ความรู้

1) การบ่งชี้ความรู้ และการคัดเลือกแหล่งความรู้เพื่อการจัดการองค์ความรู้
2) การจัดเก็บ รวบรวม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์
3) การจัดหมวดหมู่/แบ่งประเภท/กลั่นกรองความรู้
4.3 การจัดทำคลังความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วทั้งองค์กร
1) ออกแบบการสื่อสารองค์ความรู้
2) พัฒนาและขยายช่องทางการแลกเปลี่ยนความรู้
3) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากคลังความรู้
4.4 การสรุปผลการดำเนินการ/สรุปบทเรียนและการนำผลไปสู่การปรับปรุงกระบวนงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.5 มอบรางวัลผู้ปฏิบัติงานและพัฒนางานดีเด่น
5. ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง กันยายน 2553
6. งบประมาณดำเนินการ
ใช้งบประมาณ
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 จังหวัดมีคลังความรู้ ภูมิปัญญาของบุคลากรในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน
7.2 จังหวัดมีทีมจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่
7.3 จังหวัดมีระบบการบริหารองค์ความรู้ทั่งทั้งองค์กร
7.4 กระบวนการปฏิบัติงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพส่งผลสำเร็จต่อยุทธศาสตร์กรมฯ และยุทธศาสตร์จังหวัด

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ


เจ้าของความรู้ นางสงวน มะเสนา
ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานให้ประสบผลสำเร็จต้องทำอย่างไร
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2528
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

การได้รับ “ครุฑทองคำ” หรือการได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็น “ข้าราชการพลเรือนดีเด่น” นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของการเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เมื่อนั่งครุ่นคิด มองย้อนหลังไปเมื่อครั้งเริ่มต้นชีวิต การทำงาน ด้วยการเป็น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ระดับ 1(พัฒนากรรุ่น 14) เป็นก้าวแรกในการเดินเข้าสู่ การเป็นข้าราชการใน“ครอบครัวพัฒนาชุมชน” ของข้าพเจ้า เมื่อวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2528 ณ สำนักงาน พัฒนาชุมชน เขตที่ 4 (สพช. เขต 4) อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันคือศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4(ศพช.เขต4) ตลอดระยะเวลาที่รับการฝึกอบรมก่อนประจำการ 3 เดือนเศษ คือระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ –16 พฤษภาคม 2528 สถานที่แห่งนี้ได้ฝึกอบรม บ่มนิสัย ให้ความรู้และประสบการณ์ ในการทำงานกับประชาชน สำหรับข้าราชการใหม่ จำนวน 97 คน ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในจำนวนนั้น ภายใต้คำขวัญของกรมการพัฒนาชุมชน โดยการนำของท่านอธิบดีฯ สุวนัย ทองนพ ที่ว่า “หมู่บ้าน คือ ที่อยู่รวมกันของชาวบ้านที่เขาต้องการอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกตลอดไป ”
จากคำขวัญสั้น ๆ นี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้เกิดกิจกรรมที่ยืนยาว และวิธีการที่มากมายหลากหลายอย่างในการทำงานพัฒนาชุมชน เพื่อจะให้ชาวบ้านเดินไปสู่เป้าหมายที่เขาต้องการ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือก่อให้เกิด“ทัศนคติที่ดีและอุดมการณ์“ ในการทำงานของข้าพเจ้า ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าตัวข้าพเจ้าเองก็เป็นลูกชาวบ้านที่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบทที่งดงาม มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงมีความต้องการและอยากจะเห็นหมู่บ้านของเราเป็นอย่างนั้น...อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกตลอดไป ด้วยความเชื่อมั่นในหลักและวิธีการพัฒนาชุมชน ว่าจะสามารถทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ และมุ่งมั่นที่ “จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด“ นี่คือแรงบันดาลใจให้ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากการฝึกอบรมอีกมากมาย ทั้งเรียนในระบบของสถาบันการศึกษา และการเรียนรู้นอกระบบ ที่มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงระเบียบกฎหมาย ข้อมูลด้านต่าง ๆ เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้ลงไปปฏิบัติงานจริงในตำบล หมู่บ้าน ในตำแหน่งพัฒนากรของข้าพเจ้า ในเขตพัฒนาตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ที่ข้าพเจ้าจะต้องทำงานร่วมมือร่วมใจกับประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักของข้าราชการพัฒนาชุมชน โดยการสนับสนุน ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากท่านพัฒนาการอำเภอและพี่ ๆ พัฒนากร ที่คอยให้คำแนะนำ ซึ่งมีทั้งคำตำหนิ และถูกดุบ้างเป็นบางครั้งในกรณีที่ทำงานผิดพลาด แต่ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ เพราะเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า ท่ามกลางความภูมิใจเมื่อได้รับคำชมว่าทำงานได้ดี ในบางครั้งก็เกิดความสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมพี่ ๆ มอบหมายงานให้เราทำมากมาย ทั้งงานในสำนักงานก็มากและยังให้รับผิดชอบ 2 ตำบลใหญ่ที่มีหลายหมู่บ้านแต่ก็ไม่เคยท้อถอยและปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายแต่ประการใด และไม่เคยปริปากบ่นหรือต่อว่าพี่ ๆ ที่มอบงานให้ทำมากเช่นนั้น ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ ภายใต้การดูแลของพี่ ๆ พัฒนากรที่อบอุ่น คอยดูแลการทำงานของข้าพเจ้าไม่ทอดทิ้งให้ต่อสู้อุปสรรคอย่างเดียวดาย
จากการที่ไม่เคยเลือกงานหรือปฏิเสธงาน มีความรับผิดชอบต่องานเสมอมาได้ทำงานด้วยความเต็มใจและตั้งใจ จึงทำให้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้รับผิดชอบงานสำคัญที่เป็นนโยบายหลักเสมอ ๆ จากสภาพดังกล่าวนี้ได้ส่งผลดีต่อข้าพเจ้า กล่าวคือ ทำให้ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงในการทำงานมากขึ้นได้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหารายละเอียดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ รวมถึงการหารูปแบบวิธีการที่จะทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย โดยข้าพเจ้าถือว่าการทำงานนั้น ”ทำมากได้มาก ยิ่งทำมากยิ่งรู้มาก“ คือ ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ทรงคุณค่า
อนึ่ง ในการทำงานใด ๆ จะให้ประสบผลสำเร็จนั้น นอกจากผู้ปฏิบัติงานจะมีอุดมการณ์ที่สูงส่ง มีความเสียสละ และมีธรรมาภิบาล แล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ระดับสูงลงมา ดังเช่น ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้โอกาสในการทำงานให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนการส่งเสริม สนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี เพื่อนร่วมงาน ภาคีพัฒนา ประชาชน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานที่ช่วยเติมเต็มทั้งพลังความคิด พลังกาย และพลังใจให้งานได้ขับเคลื่อนไปสู่จุดหมาย และที่สำคัญยิ่งจะขาดไม่ได้เลย คือ ครอบครัว ที่สมาชิกครอบครัว เช่น คู่สมรส บุตร ธิดา มีความเข้าใจในหน้าที่และลักษณะงานที่เราทำ พร้อมให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะได้รับความร่วมมือหรือการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องข้างต้น นั้น ข้าพเจ้าได้ถือปฏิบัติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนี้
ประการแรก คือ ความจริงใจ และการให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน ไม่ว่าผู้ร่วมปฏิบัติงานกับเราจะเป็นใคร จะมีตำแหน่งหน้าที่สูงต่ำเพียงใด ก็จะให้ความสำคัญกับทุกคน
ประการที่สอง คือ การทำงานที่ยึดถือระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่กระทำในสิ่งที่ผิดหรือขัดต่อระเบียบ
ประการที่สาม คือ มีความรับผิดชอบ อดทน เสียสละ ซื่อสัตย์ คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ประการที่สี่ คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีหัวใจ นักประชาธิปไตย คือ ต้องให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ข้าพเจ้าพร้อมที่จะรับฟังคำติชมของผู้อื่น เพื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไป
ประการสุดท้าย คือ การทำงานทุกครั้งทุกกิจกรรมจะต้องทำให้ดีที่สุด ซึ่งข้าพเจ้ามีคติพจน์ในการทำงาน คือ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”
จากถ้อยร้อยเรียงที่กล่าวมานั้น เป็นแนวทางที่ข้าพเจ้ายึดถือในการปฏิบัติงานมาโดยตลอดเป็นระยะเวลา 22 ปีเศษ ทั้งในหน้าที่พัฒนากร นักวิชาการพัฒนาชุมชน และพัฒนาการอำเภอ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและภาคีพัฒนา ได้รับความเชื่อถือศรัทธาและความร่วมมือจากประชาชน ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และทำให้ข้าพเจ้าได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็น“ข้าราชการพลเรือนดีเด่น”(ครุฑทองคำ) เมื่อปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าภาคภูมิใจมากในการเป็น ”ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน” และข้าพเจ้าได้มีปณิธาณที่แน่วแน่ในการสืบสานการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ให้สมกับที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “ครุฑทองคำ”
ขุมความรู้
1. “ทัศนคติที่ดีและอุดมการณ์“
2. ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
3. ทำงานร่วมมือร่วมใจกับประชาชน
4. ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้
5. ไม่เคยท้อถอยและปฏิเสธงาน
6. ทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ

แก่นความรู้
1. ทัศนคติที่ดี
2. ร่วมใจกับประชาชน
3. ไม่เคยท้อถอย
4. ทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ

ความรู้เรื่อง กลยุทธ์ในการทำงานด้านยุทธศาสตร์ของนักการเงินการบัญชี


เจ้าของเรื่อง นางสาวจันทนา วัณณะวัฒนะ
ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การจัดทำคำรับรองการปฎิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553
ภายใต้เงื่อนไขของเวลาและอัตรากำลังที่จำกัด
เหตุการณ์เกิดเมื่อ วันที่ 11 มกราคม - 31 มีนาคม 2553
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ปัจจุบันข้าพเจ้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 25 ปี ครึ่งของชีวิตรับราชการจะทำงานหรือปฎิบัติหน้าที่ที่กรมการพัฒนาชุมชนเกี่ยวกับงานของกองคลังมาโดยตลอด ซึ่งจัดได้ว่ามีความชำนาญและชัดเจนเกี่ยวกับระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การงบประมาณ และการทำงานในช่วงที่ผ่านมาจะทำงานในระดับอำเภอและระดับกรมฯ เท่านั้น ถึงแม้จะเคยทำงานระดับอำเภอในฐานะพัฒนากรและพัฒนาการอำเภอก็จะทำงานในเชิงปฏิบัติหรือภาคสนามมากกว่า จนกระทั่งเมื่อสอบผ่านการคัดเลือกในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ กรมการพัฒนาชุมชนได้มีคำสั่งเลื่อนตำแหน่งข้าพเจ้าจากนักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานการเงิน กองคลัง เป็นนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ โดยมารายงานตัวเมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นการทำงานในระดับจังหวัดครั้งแรกและด้านยุทธศาสตร์ด้วย ซึ่งหลายคนคงคิดว่าให้นักการเงินการบัญชีมาเป็นนักยุทธศาสตร์จะทำได้หรือไม่เป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจหลายๆคน ซึ่งสำหรับคนอื่นเรื่องนี้อาจจะไม่ยากและไม่ท้าทาย แต่สำหรับข้าพเจ้า เป็นงานที่ไม่คุ้นเคย และคิดเสมอว่าจะต้องทำให้ได้เพราะทุกอย่างไม่ยากและเกินความสามรถของความพยายามและความตั้งใจ
งานแรกที่ท้าทายความสามารถก็คือ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ซึ่งจะต้องทำให้ทันส่งกรมฯ ภายในวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2553 เพื่อลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ระหว่างอธิบดีฯ กับพัฒนาการจังหวัดต่อจากนั้นก็จะเป็นการลงนาม คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ระหว่างพัฒนาการจังหวัดกับหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่ายและพัฒนาการอำเภอและระหว่างหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่ายและพัฒนาการอำเภอ กับทีมงาน แต่สำหรับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการได้ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ระหว่างพัฒนาการจังหวัดกับหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่ายและพัฒนาการอำเภอ ตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553
เพื่อให้การทำงานสำเร็จ ข้าพเจ้าต้องใช้กลยุทธ์สำหรับการทำงานในครั้งนี้ โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. สิ่งแรกที่คิดว่าต้องทำในขณะนั้น คือ ทำอย่างไรที่จะเรียนรู้ทุกอย่างภายในเวลารวดเร็วก็คือ การประชุมทีมงาน ซึ่งมีเพียงคนเดียว คือคุณจินดา รัตนพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ(ปัจจุบันเป็นพัฒนาการอำเภอพระสมุทรเจดีย์) เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเชื่อมระหว่างข้าพเจ้ากับงานยุทธศาสตร์ของจังหวัด และ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ จะเป็นการประชุมเพื่อรับทราบกระบวนงานทั้งหมดของงานยุทธศาสตร์ และข้อจำกัดของกลุ่มงานแล้วรับรู้ร่วมกันและเข้าใจกันว่าต้องทำงานเป็นทีมเท่านั้นจึงจะทำให้ทำงานสำเร็จได้ ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีอะไรตรงไหนใครว่างก็ลงมือทำงานชิ้นนั้นถ้าสามารถทำได้และรับรู้ทุกเรื่องเท่ากัน
2. การศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ผ่านมาจากแฟ้มเอกสาร ว่าการทำคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีแก่นและสาระอะไรบ้าง โดยเฉพาะของปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ที่ผ่านมา เพราะรายละเอียดสำคัญๆ คงไม่ต่างกันมากนัก เช่น ยุทธศาสตร์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดการ วิเคระห์ศักยภาพของสำนักงานพัฒนาชุมชน / กิจกรรมพัฒนาชุมชน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ เป็นต้น เพื่อจะได้นำมาเป็นฐานของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ในปีนี้ 3. การศึกษารายละเอียดองค์ประกอบตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อจะได้รู้ทิศทางการทำงานปีนี้ว่าสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจะเน้นในประเด็นเรื่องอะไร เพื่อถ่วงค่าน้ำหนักของตัวชี้วัดและเสนอพัฒนาการจังหวัดให้ความเห็นชอบถึงทิศทางการทำงานในปีนี้
4. การประสานงานกับกลุ่มงานกลุ่มงานสารสนเทศ โดยเฉพาะหัวหน้ากลุ่มงาน (นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ) ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานด้านนี้ เพื่อให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เพิ่มเติม ในประเด็นหรือแง่มุมอื่นเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด นอกจากนี้บางส่วนก็ต้องประสานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน (นางยุพดี หาญอักษรณรงค์) โดยตรงเพื่อขอคำแนะนำ
5. ประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เพื่อชี้แจงรายละเอียดของตัวชี้วัดตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการ และตกลงร่วมกันในการรับเป้าหมายการทำงาน และลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างพัฒนาการจังหวัดกับหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่ายและพัฒนาการอำเภอ
6. ประชุมทีมงานกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ (หรือเรียกว่าพูดคุยกับทีมงานจึงจะเหมาะกว่า) และจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2553 ฉบับสมบูรณ์ แผนที่ยุทธศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาชุมชน ข้อเสนอโครงการริ่เริมสร้างสรรค์ เสนอพัฒนาการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง แล้วจึงจัดส่งให้กรมการพัฒนาชุมชนทันภายในวันจันทร์ ที่ 15 มีนาคม 2553
ข้อควรคำนึง
ในการดำเนินการดังกล่าว มีข้อควรคำนึง ดังนี้
1. ต้องมีความเข้าใจและชัดเจนในบริบทของจังหวัดนั้นๆ
2. ต้องเป็นนักประสานและเข้าใจในข้อจำกัด และใช้วิกฤตเป็นโอกาส ในการเรียนรู้งานยุทธศาสตร์
จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาในจุดอ่อนของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านหนึ่งมาทำงานอีกด้านหนึ่งที่ไม่ใช้หลัก “ Put the right man into the right job” เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริหารต้องเข้าใจ และยอมรับในบางสิ่งบางอย่างที่อาจจะไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็จะเป็นความภูมิใจของผู้ที่ทำงานนั้นว่า “ เราทำได้ ” และเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกด้านหนึ่งให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างมากว่าคำว่า “ การเงิน การคลัง ”
ขุมความรู้
1. การประชุมทีมงาน
2. ทีมงาน
3. รับรู้ร่วมกันและเข้าใจกัน
4. การศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ผ่าน
5. การประสานงาน

ความรู้เรื่อง ชีวิตการเป็นพัฒนากรต่างจังหวัดกับจังหวัดชานเมือง


เจ้าของความรู้ นางวิจิตรา พู่สกุลสถาพร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
เบอร์โทรศัพท์ มือถือ 801-685-7520
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัดกับเขตพื้นที่ชานเมือง
เหตุการณ์ เริ่มจากการทำงาน ปี พ.ศ . 2524
ถ้าย้อนไปก่อนนั้น ข้าพเจ้าเริ่มต้นจากการสมัครเข้าเป็นอาสาพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ในรุ่นที่ 11 ในตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรลองสมัครดูเพราะจบมาใหม่ๆ ดีกว่าไม่มีอะไรทำ สมัยนั้นมีทั้งสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ ระหว่างที่สอบสัมภาษณ์นั้นมีประโยดหนึ่งที่ ข้าพเจ้าจำได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณสอบได้จะไปทำอะไรในหมู่บ้านต้องไปส่งเสริมให้การอบรมชาวบ้านด้วย แต่มีการอบรมก่อนประจำการเป็นเวลา 3 เดือน และถ้าทำงานไม่ครบ 1 ปี ต้องปรับเงินด้วย คุณพร้อมนะ ข้าพเจ้ากลับบ้านมานั่งคุยกับคุณพ่อท่านรับราชการเป็นนายทหารและเคยทำงานที่ กอ.รมน. ท่านไม่พูดอะไรพูดแต่ว่าหน้าลองนะลูกเป็นการทดสอบตัวเอง ระยะเวลา 1 ปีเท่านั้น คิดในใจว่าคงสอบไม่ติด ปรากฏว่าสอบติด เรียกตัวให้เข้ารับการอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมแหลมฉะบัง จังหวัดชลบุรี มีเพื่อนร่วมรุ่นประมาณ 80 คน(ทั้งชาย-หญิง)ในระหว่างการอบรมอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 3 เดือน สิ่งที่ได้รับนั้นคุ้มค่ามาก เช่น การพูดต่อหน้าชุมชน , การสร้างศรัทธากับตนเอง การพัฒนาบุคลิกภาพ , การกล้าแสดงออก สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเชื่อมั่นตัวเอง ซึ่งตรงกับตัวของข้าพเจ้า มีการทดลองฝึกภาคสนาม ตรงนี้ซึ่งไม่มีหน่วยไหนทำ นอกจากกรมการพัฒนาชุมชน 1 ปีกับการเป็นอาสาฯ ต่อมาได้มีการเปิดสอบเข้ารับราชการ ตอนนั้นไม่คิดลังเลใจชอบที่จะทำงานแบบนี้ สอบติดเกือบทั้งรุ่น
ข้าพเจ้าเริ่มรับราชการ ในปี พ.ศ. 2524 ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน บรรจุครั้งแรกที่อำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในสมัยนั้นท่านพัฒนาการจังหวัด ที่ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย คือ ท่านพงษ์ศักดิ์ พิทักษ์ ท่านเป็นคนเข้มงวดกับเรื่องงานมาก ทำให้พัฒนาการอำเภอแข่งขันด้วยผลงาน พอข้าพเจ้าไปรายงานตัวที่จังหวัด จำได้ว่าพอวันรุ่นขึ้นส่งตัวลงอำเภอเลย เจอพัฒนาการอำเภอเป็นผู้ชายเพราะเป็นหัวหน้าวัดลูกน้องที่ผลงาน ชื่อท่านประหยัด คชประดิษฐ์ พอไปรายงานตัวท่านก็ถามว่าจบจากไหน ปรากฏว่าจบจากสถาบันเดียวกันตอนนั้นข้าพเจ้าคิดว่าโชคดีอย่างน้อยคุยกันได้ ถ้ามีอะไรคงถามได้ทุกเรื่อง ผลปรากฏว่าวิเคราะห์ตั้งแต่การออกไปยืนพูดต่อหน้าชาวบ้าน สรุปให้ลูกน้อยฟังทุกครั้งว่าใครเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จะได้อะไรบ้างให้สรุปทุกครั้งทำให้เราตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มองงานออกเป็นกระบวนการ เอาใจทุกเรื่องมีความจริงใจกับลูกมาก ลูกรักทุกคนเช่น การส่งเสริมกลุ่มอาชีพ ต่อจากอาชีพ จะได้อะไรอาจต้องเสริมการออมทรัพย์ฯให้เกิดขึ้นด้วยได้ไหม นี้คือการบ้านที่ต้องกลับไปคิด เรื่องการออกท้องที่ สมัยนั้นต้องพักค้างจริง เพื่อให้เราได้สังเกตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และให้เกิดความรู้เป็นกันเอง การให้ความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามองไปแล้วงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่อิสระวัดกันที่ประสิทธิภาพของ งานสิ่งสำคัญคือ เรารัก ที่จะทำงานกับมวลชนหรือไม่ต้องวิเคราะห์ตัวเองให้ได้เสียก่อน สมัยนั้นการทำงาน รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง

ต่อมาปี 2527 ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องย้ายเข้าตามสามีเข้าเขตชานเมือง ได้ลงที่อำเภอบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ และก็ย้ายวนเวียน ภายในจังหวัดจนถึงปัจจุบัน ระหว่างที่ทำงานอยู่เขตชานเมืองถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี เพราะต่างกับต่างจังหวัดมาก เช่น ทำงานแบบต้องช่วยตัวเองไม่มีพี่เลี้ยง อย่างอะไรต้องศึกษา ต้องสังเกต พร้อมลงมือปฏิบัติจริง ถ้าผิดพลาดนำมาแก้ไข และจำเป็นบทเรียน สมัยนั้นถอดใจทำงานอย่างมาก ปรับตัวอยู่นาน ตอนมาอาศัยความสังเกตเวลาเพื่อนเข้าพื้นที่ คิดว่าเราสามารถฝึกฝนตนเองได้ ไม่เกินความพยายาม จึงตัดสินไปเข้ารับการอบรม การพัฒนาบุคลิกภาพ และการฝึกพูดต่อหน้าชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น จากนั้นก็ฝึกฝนตัวเองให้มีชั่วโมงบินให้มาก การพูด การปรับตัว เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตพัฒนากร และสิ่งที่สำคัญที่สุดการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ต้องรู้จริงในเนื้องานที่ปฏิบัติ และสามารถถ่ายทอดให้ชาวบ้านความเข้าใจและเกิดความศรัทธาจริงใจในตัวเรา และงานอื่นจะค่อยตามเอง ที่หลังประสบการณ์จะเป็นตัวสอนให้เราแก่นขึ้น จนสามารถปรับตัวได้ ถ้ารักจะอยู่ในกรมการพัฒนาชุมชน ต่อไป สรุปการทำงานในชีวิตของพัฒนากร ต้องรักและศรัทธา ในอาชีพของตนเองเสียก่อน จึงจะเกิดความเชื่อมั่น เพราะต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา พัฒนาตนเองใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม อย่างสม่ำเสมอ
ขุมความรู้
1. การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างภาวะนำ 2. การสร้างความเชื่อมั่น, สร้างความศรัทธา 3. การให้เกียรติผู้อื่น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 4. ศึกษางานให้รู้จริงจนสามารถถ่าย

5. หาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาตนเองตลอดเวลา
แก่นความรู้
1. ศึกษางานให้ดีและเข้าใจก่อนลงมือปฎิบัติทุกครั้ง

2. มีการฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ

กลยุทธ์ ในการทำงาน เข้าถึง เข้าใจ ทำงานด้วยใจรัก

ความรู้เรื่อง เทคนิคกระบวนการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS


เจ้าของความรู้ นางวิภาพร มั่นหมาย

แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทันท่วงทีและลดขั้นตอนการทำงาน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2551-2553

ตามที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการและในส่วนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ ของสำนักงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และทันต่อเวลา ส่วนราชการเกือบทุกแห่งจึงเข้าสู่ระบบการเบิกจ่ายด้วยระบบ GFMIS ซึ่งเปลี่ยนจากขั้นตอนการทำเอกสารด้วยมือใช้กระดาษปริมาณมาก มาจัดทำเอกสารทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนทำให้การตั้งเบิกเงินรวดเร็ว ทันต่อเวลา และสามารถออกรายงานทางการเงินได้ทันที
ดังนั้น เมื่อได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงเริ่มดำเนินงานตั้งแต่การรับเอกสารที่แต่ละกลุ่มงานหรือแต่ละอำเภอส่งมาเบิกจากเจ้าหน้าที่ธุรการแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. รวบรวมเอกสารที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันจัดหมวดหมู่เรื่องให้ชัดเจน เพื่อลดปริมาณฎีกา
2. ลงทะเบียนคุมในทะเบียนคุมฎีกาที่ตั้งเบิกในระบบ GFMIS เพื่อเป็นเลขอ้างอิงในการค้นหา
3. จากนั้นก็นำข้อมูลไปกรอกในแบบฟอร์มของ GFMIS ซึ่งแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเบิกมี 3 ประเภท คือ ขบ01 สำหรับเบิกเงินนอกงบประมาณและเงินงบประมาณที่อ้างใบสั่งซื้อ(มูลค่าเกิน 5,000) บาท ขบ 02 สำหรับเบิกเงินในงบประมาณ ขบ03 สำหรับการเบิกเงินนอกงบประมาณที่ไม่อ้างใบสั่งซื้อ
4. เมื่อกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มเสร็จแล้ว ก็ทำการ Encrip ไฟล์ หรือการบีบไฟล์เพื่อนำส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
5. นำอุปกรณ์ TOKEN KEY (อุปกรณ์สำหรับใช้ในการนำส่งข้อมูล ซึ่งมี Use ID และ Password สำหรับผู้ที่ตั้งเบิกโดยเฉพาะ และต้องทำการเปลี่ยนรหัสทุก ๆ 3 เดือน มาเสียบที่ช่อง USB แล้วเข้าไปที่ https://excelloader.gfmis.go.th/ จากนั้นระบบจะให้ใส่ Use ID และ Pass word เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่หน้าจอการส่งข้อมูล หรือจะนำส่งข้อมูลที่คลังจังหวัดฯ ของแต่ละจังหวัดก็ได้ จากนั้นระบบจะบอกขั้นตอนการปฏิบัติจนจบขั้นตอน
ถ้าข้อมูลถูกต้องและการนำส่งเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะออกรายงาน เรียกว่า Sap Log ก็ทำการพิมพ์และเสนอให้ผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อและเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป
6.แจ้งให้คลังจังหวัดทำการปลดบล็อก เพื่อให้กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าสู่บัญชีของหน่วยงานที่ตั้งเบิก
7. เมื่อเงินโอนเข้าบัญชีสำนักงาน ก็สามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายได้ (กรณีการเบิกจ่ายปกติเงินจะโอนเข้าบัญชีภายในบ่ายสามโมงของวันต่อมาก็สามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายได้ แต่กรณีเป็นการจ่ายตรงเข้าบัญชีผู้ขายเงินจะโอนภายใน 3 วันทำการ)
8. เมื่อทำการจ่ายเงินแล้ว ก็มาทำขั้นตอนการขอจ่ายเงินตามแบบฟอร์ม ขจ 05(แบบฟอร์ม ขอจ่ายเงิน) เพื่อล้างคู่บัญชีที่เกิดจากการตั้งเบิกเงิน กรณีจ่ายการโอนจ่ายตรงไม่ต้องทำ
9.ทำการปรับปรุงบัญชี กรณีเป็นการยืมเงิน(จัดทำเมื่อมีการส่งใช้คืนเงินยืมแล้วเท่านั้น) เพื่อล้างบัญชีลูกหนี้เงินยืมด้วย

ข้อควรคำนึง
1. การตั้งเบิกเงินในระบบ GFMIS สิ่งที่สำคัญ คือ รหัสงบประมาณ ศูนย์ต้นทุนและรหัสกิจกรรมหลัก ที่กรอกลงในแบบฟอร์มขอเบิกต้องใส่ให้ถูกต้อง เพราะถ้าไม่ถูกต้องจะเกิดปัญหาการเบิกจ่ายในตอนสิ้นปีงบประมาณ
2. กรณีเมื่อพบข้อผิดให้รีบติดต่อคลังจังหวัดฯ หรือบางกรณีคลังไม่สามารถแก้ได้ต้องติดต่อผู้ดูแลการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS ของกรมฯ โดยด่วน
3. การตั้งชื่อไฟล์ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา คือ ใส่ประเภท ขบ.และตามด้วยศูนย์ต้นทุน
วันเดือนปีที่ส่งเข้าระบบและเลขที่ฎีกา ตัวอย่างเช่น ขบ021500400024530719345 ไม่ต้องเว้นวรรค
4. กรณีไม่เข้าใจหรือมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายในระบบ GFMISและดาวน์โหลดแบบฟอร์มและโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ GFMIS ได้ที่https://gfmisreport.mygfmis.com

ขุมความรู้
1. รวบรวมเอกสารและจัดเป็นหมวดหมู่
2. ลงบัญชีหรือทะเบียนคุมฎีกา ในระบบ GFMIS
3. กรอกแบบฟอร์มของ GFMIS (ขบ01,ขบ02,ขบ03)
4. Encrip ไฟล์หรือบีบไฟล์
5. นำส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ TOKEN KEY หรือจะนำส่งข้อมูลที่คลังจังหวัดฯ ก็ได้
6. พิมพ์และนำเสนอผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อ
7. แจ้งคลังจังหวัดปลดบล็อกโอนเงิน
8. เขียนเช็ดสั่งจ่าย
9. ทำเอกสารขอจ่ายเงิน (ขจ05)
10. ปรับปรุงบัญชี

แก่นความรู้ ยึดระเบียบการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS ของทางราชการ

กลยุทธ์ ยึดระเบียบของระบบครบถ้วน

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง F คู่มือผู้ปฏิบัติงานในระบบ Excel Loader สำนักมาตรฐาน
ด้านการบัญชีภาครัฐ
Fคู่มือการปฏิบัติงานระบบ GFMIS โดยสำนักกำกับและพัฒนา ระบบการบริหารการการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชี

ความรู้เรื่อง เทคนิคการให้บริการรับ-ส่งหนังสือราชการอย่างมีประสิทธิภาพ


เจ้าของความรู้ นางสาวพาฝัน ณ สงขลา
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การลงรับหนังสือราชการของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ/กลุ่มงาน/ฝ่าย
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ก.พ.-มิ.ย. 53
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการมอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบงานธุรการในการให้บริการรับ-ส่งหนังสือราชการของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ/กลุ่มงาน/ฝ่าย ต่าง ๆ เพื่อเสนอให้ผู้บังคับบัญชาลงนามในเรื่องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อได้รับมอบหมายสิ่งแรกที่ข้าพเจ้าดำเนินการคือการทบทวนและศึกษากระบวนการทำงานด้านนี้ของผู้รับผิดชอบเดิม พบว่าการลงรับหนังสือราชการใช้วิธีการลงบันทึกในเล่มลงรับหนังสือ แต่ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วการลงรับหนังสือด้วยสมุดเมื่อมีผู้ใดต้องการสืบค้นหนังสือจะยุ่งยากในการเปิดหาหรือสืบค้น โดยเฉพาะหากหนังสือเรื่องนั้นเข้ามานานมากแล้วหรือมีหนังสือเข้าเป็นจำนวนมาก ๆ ดังนั้น จึงคิดว่าหากเราพัฒนามาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์(โปรแกรม Excel) มาจัดการในลักษณะฐานข้อมูลหนังสือเข้า จะช่วยในการปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการสืบค้นมากขึ้น
ดังนั้น เมื่อมีหนังสือราชการที่ส่งมาถึงสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการในแต่ละวัน ข้าพเจ้า จึงดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. คัดแยกหนังสือแบ่งตามกลุ่มงาน / ฝ่าย
2. ประทับตราลงรับของสำนักงาน / วันที่ / กลุ่มงาน / ฝ่าย
3. จัดพิมพ์หนังสือที่คัดแยกไว้ลงในแบบฟอร์มที่จัดทำไว้ในโปรแกรม
4. ส่งให้หัวหน้าฝ่ายอำนวยการตรวจสอบและพิจารณาความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
5. พิมพ์แบบฟอร์มข้อมูลหนังสือลงรับเพื่อให้กลุ่มงาน / ฝ่าย เซ็นรับอย่างเป็นทางการ
6. จัดเก็บแบบฟอร์มที่กลุ่มงาน / ฝ่าย เซ็นรับ โดยแยกแฟ้มเก็บเป็นกลุ่มงาน / ฝ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหางานจึงเป็นประโยชน์ ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะงานด้านธุรการ

ข้อควรคำนึง
1) การใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลหนังสือลงรับ ควรมีเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นที่สามารถทำงานแทนเราได้ในกรณีที่เราไม่มาปฏิบัติงานหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้
2) ผู้ปฏิบัติงานควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องการใช้โปรแกรม
ขุมความรู้
1) ศึกษางานการลงรับหนังสือจากผู้รับผิดชอบเดิม
2) วิเคราะห์ปัญหาความยุ่งยากที่เกิดขึ้น
3) ประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาแก้ปัญหา
4) ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบความถูกต้อง
5) จัดระบบแฟ้มตามกลุ่มงาน / ฝ่าย

แก่นความรู้
1) วิเคราะห์งานที่ผ่านมา
2) หาแนวทางพัฒนางานด้วย IT
3) ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบ
4) จัดระบบงาน

กลยุทธ์
วิเคราะห์ปัญหา นำพา IT มีระบบแฟ้มส่วนงาน

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนากระบวนงานตาม PMQA หมวด 3 และ หมวด 6

ความรู้เรื่อง มหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เจ้าของความรู้ นายวิมล ทองก้อน
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอเมืองสมุทรปราการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-9145-7993
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ กรณีคนว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2551
สถานที่เกิดเหตุการณ์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ
ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการบูรณาการ การพัฒนาของภาคีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนและราชการ กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และในปี พ.ศ. 2551 มีนโยบายในการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน ด้วยหลักพัฒนา 4 พ. คือ พัฒนาคน (people) พัฒนาพื้นที่ (place) พัฒนาแหล่งรายได้ของชุมชน (product) และ พัฒนาแผนชุมชน (planning) เพื่อ
มุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข แต่ความเป็นจริง ในปัจจุบัน สังคมไทย ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความแตก
ต่างกันในความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมของสังคม บางครอบครัวไม่มีความอบอุ่น สมาชิกบางรายหันไปพึ่งยาเสพติด ทำให้สังคมไม่ยอมรับ เป็นเหตุให้มีคนว่างงาน ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย พึ่งตนเองไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจตกต่ำ คนที่
เคยมีงานทำต้องตกงาน เนื่องจากโรงงานบางแห่งต้องปิดกิจการลง ซึ่งเป็นปัญหาหลักของสังคม
ข้าพเจ้า เป็นข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนคนหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนที่เดือดร้อน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้มีอาชีพโดยเน้นหลักตามแนวพระราชดำรัส “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง “ ให้มีขึ้น เพื่อปลดเปลื้องสิ่งที่กำลังทำให้ชีวิตของประชาชนทั่วไปต้องแตกแยก หรือหลงผิด ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้สังคมต้องเดือดร้อน
จากปัญหาและแนวคิดในฐานะบุคคลหนึ่งในหน่วยงานพัฒนาชุมชน ที่มุ่งในการ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ได้สำรวจข้อมูลว่า หน่วยงานเรามีสิ่งได้บ้างที่จะช่วย
เหลือประชาชนผู้เดือดร้อน คนว่างงาน ผู้ด้อยโอกาส หรือ ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการพัฒนา
กระบวนการการเรียนรู้ จึงได้เล็งเห็นว่า สิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาประชาชนที่ดีที่สุด คือ การฝึกอาชีพระยะสั้นให้ โดยเน้นด้านที่ไม่ต้องลงทุนมาก เป็นแบบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประกอบกับ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ มี กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและ
ท้องถิ่น (OTOP) ที่หลากหลาย และ จำนวนมาก ข้าพเจ้าจึงได้นัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย
OTOP และ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อร่วมกันพิจารณาให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
ในที่ประชุมมีแนวคิดที่หลากหลาย บทสรุป เพื่อเป็นทางเลือกด้านการประกอบอาชีพ ให้แก่กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส เพื่อยึดเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมตามทักษะและความถนัดของตนเองและครอบครัวต่อไป จึงเห็นควรจัดทำโครงการ “จัดมหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิต/ผู้
ประกอบการ OTOP จำนวน 30 อาชีพ เป็นผู้ฝึกอาชีพระยะสั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมายเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ในเขต อบต. จำนวน 5 อบต. และ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ แห่งละ 1 วัน รวม 6 วัน และได้ร่วมกันพิจารณาอาชีพที่ฝึกสอน ในการจัดงานครั้งนี้ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย
ข้าพเจ้า จึงได้จัดทำ “โครงการมหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น ขอรับการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับอนุมัติงบประมาณ เป็นเงิน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) และได้ประชุมมอบหมายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนด้านสถานที่
และอุปกรณ์ที่จำเป็น ตลอดจนประชุมวางแผนในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อ เคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน แผ่นพับ และปิดป้ายประชาสัมพันธ์
ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี การดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ทุกแห่ง
มีผู้เข้าร่วมฝึกอาชีพหลากหลาย จำนวน 4,852 ราย เกินเป้าหมายที่วางไว้ ในการฝึกอาชีพครั้งนี้
เป็นการให้ฟรี ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นจากผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ทำให้ ผู้ฝึกอาชีพปลื้มใจ พอใจ ที่งานครั้งนี้ออกมาด้วยดี ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติงาน ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือประทับ
ใจสุดๆ ผลทำให้ผู้ที่เข้ามาเรียนฝึกอาชีพ มีอาชีพเพิ่มเป็นหลักในการประกอบอาชีพ จนเป็นผลให้มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้นเป็นเครือข่าย OTOP อีกมากมาย ผลทางอ้อมทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ
ที่ร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1.แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
2.นโยบายการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
3.การสะสมข้อมูลตามสภาวะสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
4.ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหา
5.ค้นหาแนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
และวางแผนแบบมีส่วนร่วม
6.เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานให้บรรลุ
เป้าหมาย
7.สร้างและใช้ระบบเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
8.สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ฝึกสอนอาชีพและผู้ฝึกอาชีพและผู้ร่วมงานทุกฝ่าย
9.ทุกฝ่ายดีใจ ปลื้มใจ และพึงพอใจ ที่สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุ
ประสงค์ที่วางไว้
แก่นความรู้ (Core Competencies)
1.ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
2.สร้างสัมพันธ์ผู้ร่วมงาน
4.ประสานสามัคคี
5.ร่วมภาคีพัฒนา
6.นำพาสู่จุดหมาย
7.สุขใจผลสำเร็จร่วมกัน
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
2.นโยบายการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
3.นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
4.หลักมนุษยสัมพันธ์
5.การพัฒนาทีมงาน
6.การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ในการทำงาน
ศึกษาข้อมูล เพิ่มพูนทักษะ เอาชนะปัญหา ปรึกษาหาเหตุผล ปฏิบัติตนสู่ความสำเร็จ