km

km
กิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง มหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เจ้าของความรู้ นายวิมล ทองก้อน
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอเมืองสมุทรปราการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-9145-7993
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ กรณีคนว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2551
สถานที่เกิดเหตุการณ์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ
ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการบูรณาการ การพัฒนาของภาคีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนและราชการ กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และในปี พ.ศ. 2551 มีนโยบายในการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน ด้วยหลักพัฒนา 4 พ. คือ พัฒนาคน (people) พัฒนาพื้นที่ (place) พัฒนาแหล่งรายได้ของชุมชน (product) และ พัฒนาแผนชุมชน (planning) เพื่อ
มุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข แต่ความเป็นจริง ในปัจจุบัน สังคมไทย ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความแตก
ต่างกันในความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมของสังคม บางครอบครัวไม่มีความอบอุ่น สมาชิกบางรายหันไปพึ่งยาเสพติด ทำให้สังคมไม่ยอมรับ เป็นเหตุให้มีคนว่างงาน ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย พึ่งตนเองไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจตกต่ำ คนที่
เคยมีงานทำต้องตกงาน เนื่องจากโรงงานบางแห่งต้องปิดกิจการลง ซึ่งเป็นปัญหาหลักของสังคม
ข้าพเจ้า เป็นข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนคนหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนที่เดือดร้อน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้มีอาชีพโดยเน้นหลักตามแนวพระราชดำรัส “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง “ ให้มีขึ้น เพื่อปลดเปลื้องสิ่งที่กำลังทำให้ชีวิตของประชาชนทั่วไปต้องแตกแยก หรือหลงผิด ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้สังคมต้องเดือดร้อน
จากปัญหาและแนวคิดในฐานะบุคคลหนึ่งในหน่วยงานพัฒนาชุมชน ที่มุ่งในการ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ได้สำรวจข้อมูลว่า หน่วยงานเรามีสิ่งได้บ้างที่จะช่วย
เหลือประชาชนผู้เดือดร้อน คนว่างงาน ผู้ด้อยโอกาส หรือ ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการพัฒนา
กระบวนการการเรียนรู้ จึงได้เล็งเห็นว่า สิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาประชาชนที่ดีที่สุด คือ การฝึกอาชีพระยะสั้นให้ โดยเน้นด้านที่ไม่ต้องลงทุนมาก เป็นแบบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประกอบกับ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ มี กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและ
ท้องถิ่น (OTOP) ที่หลากหลาย และ จำนวนมาก ข้าพเจ้าจึงได้นัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย
OTOP และ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อร่วมกันพิจารณาให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
ในที่ประชุมมีแนวคิดที่หลากหลาย บทสรุป เพื่อเป็นทางเลือกด้านการประกอบอาชีพ ให้แก่กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส เพื่อยึดเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมตามทักษะและความถนัดของตนเองและครอบครัวต่อไป จึงเห็นควรจัดทำโครงการ “จัดมหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิต/ผู้
ประกอบการ OTOP จำนวน 30 อาชีพ เป็นผู้ฝึกอาชีพระยะสั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมายเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ในเขต อบต. จำนวน 5 อบต. และ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ แห่งละ 1 วัน รวม 6 วัน และได้ร่วมกันพิจารณาอาชีพที่ฝึกสอน ในการจัดงานครั้งนี้ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย
ข้าพเจ้า จึงได้จัดทำ “โครงการมหกรรมคาราวาน 30 อาชีพแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น ขอรับการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับอนุมัติงบประมาณ เป็นเงิน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) และได้ประชุมมอบหมายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนด้านสถานที่
และอุปกรณ์ที่จำเป็น ตลอดจนประชุมวางแผนในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อ เคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน แผ่นพับ และปิดป้ายประชาสัมพันธ์
ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี การดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ทุกแห่ง
มีผู้เข้าร่วมฝึกอาชีพหลากหลาย จำนวน 4,852 ราย เกินเป้าหมายที่วางไว้ ในการฝึกอาชีพครั้งนี้
เป็นการให้ฟรี ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นจากผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ทำให้ ผู้ฝึกอาชีพปลื้มใจ พอใจ ที่งานครั้งนี้ออกมาด้วยดี ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติงาน ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือประทับ
ใจสุดๆ ผลทำให้ผู้ที่เข้ามาเรียนฝึกอาชีพ มีอาชีพเพิ่มเป็นหลักในการประกอบอาชีพ จนเป็นผลให้มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้นเป็นเครือข่าย OTOP อีกมากมาย ผลทางอ้อมทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ
ที่ร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1.แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
2.นโยบายการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
3.การสะสมข้อมูลตามสภาวะสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
4.ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหา
5.ค้นหาแนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
และวางแผนแบบมีส่วนร่วม
6.เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานให้บรรลุ
เป้าหมาย
7.สร้างและใช้ระบบเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
8.สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ฝึกสอนอาชีพและผู้ฝึกอาชีพและผู้ร่วมงานทุกฝ่าย
9.ทุกฝ่ายดีใจ ปลื้มใจ และพึงพอใจ ที่สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุ
ประสงค์ที่วางไว้
แก่นความรู้ (Core Competencies)
1.ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
2.สร้างสัมพันธ์ผู้ร่วมงาน
4.ประสานสามัคคี
5.ร่วมภาคีพัฒนา
6.นำพาสู่จุดหมาย
7.สุขใจผลสำเร็จร่วมกัน
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
2.นโยบายการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
3.นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน
4.หลักมนุษยสัมพันธ์
5.การพัฒนาทีมงาน
6.การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ในการทำงาน
ศึกษาข้อมูล เพิ่มพูนทักษะ เอาชนะปัญหา ปรึกษาหาเหตุผล ปฏิบัติตนสู่ความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น